[quote/]
อันนี้ขอแย้งนิดหนึ่งครับไม่ไช่ว่าปติวัติไร้การนองเลือดแต่เจ้าหรือราชาของไทยตอนนั้นต้องการส่งมอบอำนาจอยู่แล้ว ที่พวกคณะปติวัตทำแค่เร่งไห้เร็วขึ้นอีกนิดหน่อยเพราะไทยโดนการกดดันต่างๆไม่ไหวอยู่แล้ว ดูจากการเปรี่ยนแปลงหลายๆอย่างตังแต่ชุดสิ่งก่อสร้างเพลงราชาตอนนั้นแค่ส่งอำนาจการปกครองไห้ แต่ต้องไม่ล้มระบบราชาทำแบบอังกฤษคือราชาจะไม่ยุ่งการเมืองแต่รายได้และอำนาจมีอยู่สามารถไช้ในเวลาฉุกเฉินได้ มันแค่หนีจากแรงกดดันต่างๆแค่นั้น
อย่างที่ผมเขียนในตอนแรกครับ เราต้องเทียบกับหลักฐานระดับ Tier กัน
ร.7 ต้องการพระราชทานรัฐธรรมนูญจริง แต่รัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยครับ
จากหลักฐานรัฐธรรมนูญที่ร.7 ได้จ้างฟรานซิส บี.แซร์ เขียน มาตราที่ 1 อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ ย้อนกลับไปดูหลักฐานที่ผมเอามาลงได้เลยครับ
ตรงจุดนี้แสดงให้เห็นว่า ร.7 ไม่ได้ต้องการประชาธิปไตยครับ เพียงแต่ต้องการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง เพราะ ยุคสมัยนั้นมันเป็นยุคที่หลายประเทศในโลกเกิด Revolution
คณะราษฎรเห็นรัฐธรรมนูญตัวนี้ก่อนออกประกาศใช้ไม่ใช่ประชาธิปไตย
พวกเขาจึงไม่ยอมและต้องการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยแบบที่ฝรั่งเศษเป็น ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงก่อการปฏิวัติขึ้นครับ
ใครบอกคณะราษฎร์ต้องการเป็นประชาธิปไตยผมเถียงชน ฝา พวกนี้ต้องการคอมมิวนิสครับ
อันนี้ผมจะชี้ให้ถึงข้อแตกต่างทั้งหลักการและการบริหารงานสมัยคณะราษฎรมีอำนาจได้เป็นรัฐบาล เทียบกับ Communist Manifesto ของคาร์ล มาร์ก 10 ประการ
อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตย กับ คอมมิวนิสต์ แตกต่างกันอย่างไรก่อน(จริงๆเรื่องนี้ผมเคยอธิบายไว้หลายโพสต์แล้ว) ทราบมั้ยครับว่า ปชต. และคอมมี่ ต่างก็เป็นฝ่ายซ้าย
เพราะ จุดมุ่งหมายสูงสุดของทั้งสองระบอบคือ "คนทุกคนต้องเท่ากัน" เพียงแต่ต่างวิธีกัน
ประชาธิปไตย = คนเท่ากัน + กระจายอำนาจ
คอมมิวนิสต์ = คนเท่ากัน + รวมอำนาจ
ตามกราฟนี้เลยครับ
ทีนี้ผมอยากให้เรามาดูพิจารณา Communist Manifesto(คำประกาศคอมมิวนิสต์) ของคาร์ล มาร์ก
1.ขจัดซึ่งความเป็นเจ้าของที่ดินส่วนตัวในที่ดินและการปล่อยเช่าที่ดินของชนชั้นนายทุน
2.จัดเก็บภาษีบุคคลได้ในแบบอัตราก้าวหน้า หรือ ขั้นบันได
3.ขจัดซึ่งการสืบทอดทรัพย์สินมรดก
4.ทรัพย์สินของศัตรูกบฏและผู้อพยพจะถูกยึดเข้าสู่รัฐเป็นทรัพย์สินสาธารณะ
5.รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติและไม่อนุญาตให้จัดตั้งธนาคารเอกชนอันเป็นผลให้เกิดการผูกขาดทุน(ธนาคารแห่งชาติ)
6.รัฐมีหน้าที่จัดหาสาธารณูปโภคอันได้แก่ระบบการสื่อสารและระบบคมนาคมแก่ประชาชน
7.ขยายอุตสาหกรรมโรงงานการผลิต โดยโรงงานเหล่านี้มีเจ้าของกิจการคือรัฐ(รัฐวิสาหกิจ)
8.ประชาชนทุกคนจะมีหน้าที่และรับผิดชอบต่องานของตัวเองเท่าเทียมกัน มีจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการทหารและการเกษตร
9.ผสมผสานการเกษตรและอุตสาหกรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองใหญ๋กับเมืองเล็กโดยการกระจายประชากรในแต่ละเมืองให้มีจำนวนเท่าๆกัน
10.ให้การศึกษาฟรีแก่เด็ก เยาวชนทุกคน ขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบสมัยก่อน(ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม) ให้การศึกษาพร้อมกับการฝึกวิชาชีพ(ปวช. และ ปวศ.)
อันนี้ผมแปะลิ้งค์ Communist Manifesto 10 ข้อให้ เลื่อนลงมาล่างๆจะเจอ แต่เป็นภาษาอังกฤษนะครับ ส่วนตรงนี้ผมแปลลงให้
https://www.marxists.org/archive/marx/works/1848/communist-manifesto/ch02.htmรูปนี้คือหลักการของคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย 6 ประการ คือ เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา
ทีนี้เรามาดูถึงสิ่งที่รัฐบาลของคณะราษฎรทำในสมัย 2475 - 2490 ซึ่งส่วนใหญ๋ดำเนินอิงตามแผนเค้าโครงเศรษฐกิจของอ.ปรีดี (ที่โดนร.7 วิจารณ์ว่าลอกเลนนิน ซึ่งจะจริงไม่จริง ผมอยากให้มาพิสูจน์กัน)
- เน้นทางด้านการศึกษา ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อตั้งโรงเรียนประถมและมัธยม (โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อว่า บำรุงราษฎร์ เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งในสมัยคณะราษฎรทั้งสิ้น)
- กระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ชุมชน จัดตั้งเทศบาล ตามพระราชบัญญํติระเบียบเทศบาล ปี 2476
- จัดปรับปรุงระบบภาษี ยกเลิก ภาษีสมัยเก่าที่ไม่เป็นธรรม
- ทำให้เกิดการให้เงินบำนาญแก่ข้าราชการ
- ชำระประมวลกฎหมายตราสามดวงใหม่
- จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และอนุญาตให้เอกชนสามาถเป็นเจ้าของธนาคารเอกชนได้(อิงจากหนังสือเค้าโครงเศรษฐกิจของอ.ปรีดี)
- ยกเลิกระบบไพร่(ร.5 ยกเลิกทาส แต่ไม่ได้ยกเลิกไพร่) และการยกเลิกการเกณฑ์แรงงานเมื่อจ่ายภาษีไม่ได้ เข้า 6 เดือน ออก 6 เดือน
- ให้โอกาสบุคคลสามัญที่ไม่ใช่่ชนชั้นขุนนางเก่า สามารถรับราชการได้
- ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างงานแก่ประชาชน ในกรณีที่เอกชนไม่มีทุนลงทุน (อนุญาตให้เอกชนลงทุน แต่ถ้าเอกชนทำไม่ได้ รัฐจะช่วยลงทุนแทน)
- แยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกจากกันอย่างสิ้นเชิง(ใครหลายคนงงว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นี้คืออะไร ผมอธิบายให้ ชื่อเต็มที่ถูกต้อง คือ ทรัพย์สินส่วนที่รัฐบาลกษัตริย์บริหารประเทศ โดยทรัพย์สินส่วนนี้เกิดจากภาษีประชาชน) ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้แยกทรัพย์สินส่วนตน ออกจากทรัพย์สินสาธารณะส่วนรวม ครับ
อันนี้ผมแปะลิ้ง เค้าโครงเศรษฐกิจของอ.ปรีดี หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า สมุดปกเหลืองให้คุณได้ลองอ่าน และลองคิดพิจารณาดีๆว่า เป็นคอมมิวนิสต์อย่างที่คนอื่นกล่าวหาจริงหรือเปล่า
http://www.openbase.in.th/files/puey014.pdfซึ่งถ้ามาดูกันแล้ว การจัดตั้งเทศบาล โดยมีหลักฐานคือ ระเบียบเทศบาล 2476 และการยกเลิกไพร่ ถือเป็นหลักฐานสำคัญของการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการของประชาธิปไตย
อย่างที่ผมกล่าวในตอนแรก คือ คนเท่ากัน + กระจายอำนาจ = ประชาธิปไตย
และเมื่อเทียบกับ คำประกาศคอมมิวนิสต์(Communist Manifesto) ของคาร์ล มาร์ก นั้น คือ คนเท่ากัน + รวมอำนาจ ซึ่งมันได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ
ดังนั้น วาทะกรรมของร.7 ที่บอกว่าเค้าโครงเศรษฐกิจของอ.ปรีดี ลอกมาจาก เลนนินนั้น ถือเป็นเรื่องเท็จที่กุขึ้นมาเพื่อ Discredit อ.ปรีดีและคณะราษฎร
สิ่งที่ร.7 ต้องการคือต้องการให้ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมา โดยอ้างอิงจากหลักฐานการสนับสนุนทุนแก่กลุ่มกบฏบวรเดช โดยได้เงินจากพระคลังข้างที่ไป 2 แสน(เยอนะสมัยนั้น)
โดยคนที่ให้ทุนแก่กบฎบวรเดช คือ กรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฐ์ฯ พ่อตาของร.7 โดยมีพยานยืนยัน คือ ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล(คุณหญิงพูน) และเจ้านายหลายคนต่างซ่องสุมกำลังที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ขณะที่ ร.7 เองทรงประทับที่วังไกลกังวลเป็นเวลาเดียวกัน หลังจากกบฏบวรเดชพ่ายแพ้ ร.7 จึงได้เสด็จหนีไปต่างประเทศ เพราะถูกคณะราษฎรฟ้องร้องว่าพระองค์ยักยอมทรัพย์สมบัติสมัยร.5
และคดียักยอกทรัพย์
หลายคนยังเชื่อตามที่เขาเล่าๆกันมาอยู่เลย เวลาเราถกกันด้านประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอิงหลักฐานเอกสารที่เชื่อถือได้ สังเกตมั้ยครับ เวลาผมเขียนหรือผมเล่าอะไรไป
ผมจะแนบลิ้งค์เอกสารราชการ รูปถ่ายตลอด เพื่อเป็นหลักฐานข้อเท็จจริงระดับ Tier A Tier B ยันในสิ่งที่ผมได้เขียนลงไป ซึ่งหลักฐานเหล่านี้มี Bias ที่น้อยกว่าเรื่องเล่า Tier C
แน่นอนว่าผมแนะนำให้อ่านจากเอกสารราชการที่มีการรับรองจริงๆ อย่าเชื่อเพียงเขาเล่าๆกันมา แล้วคุณจะได้พบกับความจริง และตาสว่างว่าอันไหนคือเรื่องจริงอันไหนคือเรื่องเท็จ