แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก

ผู้เขียน หัวข้อ: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน  (อ่าน 828 ครั้ง)

ออฟไลน์ Taw

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,352
  • ถูกใจแล้ว: 584 ครั้ง
  • ความนิยม: +47/-605
[อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 04:21:04 PM »
หมายเหตุ กระทู้นี้มีเพื่อนำเสนอแง่มุมอีกแง่ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อปั่นหัวให้เกิดการดราม่าขัดแย้งภายในเวป

ร.ฟ.ท.องค์กรใหญ่...
ทำไมขาดทุนยับเยิน? $- $-
ยิ่งนานวัน...ยิ่งพอกพูน...เพราะอะไร?


เนื้อหาโดยสรุป(ตัดต่อมาให้สั้นลงแล้ว) :

ผมเคยอ่านบัญชีรายรับรายจ่ายของ ร.ฟ.ท. ย้อนหลังไปหลาย 10 ปี เพื่อจะดูว่าจริงๆแล้ว ร.ฟ.ท.นั้นขาดทุนได้ยังไง...มันเริ่มมาจากอะไร? ในบัญชีรายรับที่ผมพอจะจำตัวเลขได้
น่าจะประมาณปี พศ.2517 ที่ ร.ฟ.ท.เริ่มขาดทุนซึ่งก่อนหน้านั้น2ปี คือ ปี2515 ร.ฟ.ท.มีนโยบายให้ทะยอยเลิกใช้หัวรถจักรไอน้ำ เพราะไม้ฟืนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเริ่มหายากมากขึ้น
ผมได้พยายามดูข้อมูลรายได้ ร.ฟ.ท. ก่อนปี พศ.2515 ก็ยังมีกำไรอยู่นะ แต่เหมือนจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆเหมือนกับชีพจรคนป่วยที่ใกล้จะตาย จนในปี พศ.2517 ก็มาถึงจุดที่เริ่มขาดทุน(ตัวเลขปีนี่ถ้าผิดขออภัยนะ...เพราะมันนานมากละ) หลังจากที่เริ่มขาดทุนในปีนั้น ก็เริ่มขาดทุนสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในปีถัดไป

แต่อย่างไรก็ตามถ้ามาเฉลี่ยรายได้และรายจ่าย รายได้จากค่าโดยสารหรือสินค้าในสมัยนั้น กับรายจ่ายค่าน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในสมัยนั้น ดูแล้วก็ยังสูสิกันไม่น่าตกใจเท่าใหร่
จนกระทั้งเมื่อปี 2528 รัฐบาลมีมติให้บอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารชั้น3 โดยคำนวนราคาค่าโดยสารเท่ากับ 2 บาท ในทุกๆระยะทาง 10 กม. เพื่อลดภาระการขาดทุนของ ร.ฟ.ท. ซึ่งไม่ทราบว่าในปี 2528 นั้น ราคาน้ำมันดีเซลลิตรละกี่บาท อาจจะไม่ถึง 4 หรือ 5 บาทด้วยซ้ำ

ร.ฟ.ท. เก็บค่าโดยสารราคา 2 บาทต่อ 10 กิโลเมตร มาตั้งแต่ปี2528 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลตอนนี้อยู่ที่ลิตรละ 25-30 บาท ทีนี้หายสงสัยกันรึยังว่าทำมั้ย ร.ฟ.ท.ถึงขาดทุน เอาหล่ะ...ผมเชื่อว่าบางคนยังคาใจอยู่เพราะเชื่อว่ารถไฟขนคนได้ทีละมากๆน่าจะได้กำไร มาดูตัวเลขต่อไปนี้กันครับ...

รถไฟดีเซลราง 1 ขบวน พ่วงต่อกัน 4 คัน
รถดีเซลราง 1 คัน มี 1 เครื่องยนต์ 74 ที่นั่ง
ถ้าพ่วง 4 คัน ก็เท่ากับ 4 เครื่องยนต์ รวม 296 ที่นั่ง

ถ้ารถไฟขบวนนี้วิ่งจาก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
จะสิ้นเปลื้องเชื้อเพลิง ประมาณ 200 ลิตร/1เครื่อง
รถ4คัน/4เครื่อง ก็เท่ากับ800ลิตร
น้ำมันดีเซลลิตรละ 27 บาท
รถไฟขบวนนี้ต้องจ่ายค่าน้ำมัน 21,600 บาท

ถ้ารถไฟขบวนนี้เป็นรถไฟชั้น3(ที่ไม่ใช่รถด่วน) จะอ้างอิงค่าโดยสาร 2 บาท/10กิโลเมตร หรือเฉลี่ยออกมาเท่ากับ กิโลเมตรละ 20 สตางค์ ระยะทางจาก กรุงเทพ-นครราชสีมา 264 กม. ก็จะได้ตัวเลข 52.8 บาท ปัดเศษแล้ว ค่าโดยสารจริงๆคือ 50 บาทต่อคน ถ้ารถไฟขบวนนี้ มีผู้โดยสารเต็มขึ้นต้นทาง-ลงปลายทาง คือคนเต็มตลอด 296คน ค่าโดยสารคนละ50บาท รถไฟขบวนนี้มีรายได้ 14,800 บาท

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 21,600 บาท เก็บค่าโดยสารได้ 14,800 บาท(ขาดทุน6,800บาท) นี้แค่ขบวนเดียวนะ คิดแบบผู้โดยสารขึ้นเต็มทุกที่นั่งแล้ว และตัวเลขนี้คิดแค่ค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียว ความจริงมีค่าใช้จ่ายแฝงอีกมากมาย เช่น...
-ค่าใช้จ่ายพนักงาน
-ค่ากระดาษพิมพ์ตั๋ว
-ค่าอุปกรณ์ที่สึกหรอ
-ค่าทำความสะอาด
-ความสึกหรอของทางรถไฟ
-ค่าน้ำ/ค่าไฟฟ้าตามสถานี
และอื่นๆอีกมากมายก่ายกอง....ถ้าเอาตัวเลขทั้งหมดมาคำนวน อาจจะทำให้บางท่านถึงกับช็อคได้เลยเชียว เพราะแค่นี่ก็มากกว่ารายได้ค่าตั๋วที่เก็บแล้วหล่ะ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกให้เห็นภาพนะครับ ความจริงบางขบวนไม่ได้เต็มทุกเที่ยวทุกวัน มีโล่งบ้างมียืนบ้างเฉลี่ยกันไป แต่ที่แน่ๆคือ...รถไฟชั้น3 ขาดทุนแน่นอน เรียกว่า "ยิ่งวิ่งไกล ยิ่งขาดทุน" แต่ทราบมั้ยครับว่า รถไฟชั้น3ของการรถไฟ มีให้บริการทั่วทุกภูมิภาค กว่า 100 ขบวน และที่สำคัญคือ ร.ฟ.ท.ที่บริหารจัดการภายใต้สภาวะเช่นนี้ ยังพยายามที่จะประคับประคองไม่ให้แย่ไปกว่านี้

สำหรับตัวอย่างความคิดเห็นก็แตกต่างกันไป เช่น...

"การไม่ปรับขึ้นค่าโดยสาร นี่แหละ
สาเหตุ สำคัญที่สุด
ถามว่า...อัตรานี้ อ้างอิงสมัยไหน
วันนี้ คนทั่วไป ขึ้นเครื่องบิน ราคาโลว์คอสต์ สบายๆ แล้วทำไมคนทำงาน จะมาจ่ายค่ารถไฟ เพิ่มขึ้นแค่นี้ไม่ได้
รังสิต/ศาลายา20 บาท
ภาชี 30 บาท
ลพบุร/แก่งคอย/นครปฐม 40
สุพรรณบุรี 50
อัตราเดียวไปเลย"

"แต่ปัญหาที่ผู้บริหาร รฟท. กำลังจะแก้นั้นมันผิดทาง คือเค้าคิดแต่จะลดต้นทุน ซึ่งปัจจุบันมันลดจนไม่มีที่จะลดได้อีกแล้วเพราะถ้าลดมากกว่าไปกว่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการบริการจะต่ำลง แทนที่จะคิดหาวิธีเพิ่มรายได้ เช่น ขึ้นค่าโดยสารให้สอดคล้องกับราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน(ขอย้ำนะครับว่าขึ้นค่าโดยสาร)ไม่ใช่ไปขึ้นค่าธรรมเนียมในรถเชิงพานิชย์
ถ้ายังคิดแต่จะลดต้นทุนโดยไม่คิดเพิ่มรายได้ก็คงยากที่จะฟื้น"

"มีบ่อยครั้งที่ไม่ได้อยากนั่งชั้นสาม แต่ชั้นอื่นเต็ม เลยจำใจต้องนั่งชั้นสาม ซึ่งคนทุกวันนี้เค้ามีเงิน เค้าสามารถจ่ายได้เพราะฉะนั้นควรจะเพิ่มที่นั่งที่มีราคาด้วย ชั้นสามให้มีแต่ลดจำนวนตู้ลง"

"คนเขียนเขียนไม่หมด ร.5 ท่านทรงรู้อยู้แล้ว การให้บริการรถไฟชั้น3 เพื่อประชาชนต้องขาดทุนจำนวนมาก ท่านจึงพระราชทานที่ดิน จำนวนมากให้การรถไฟในการบริหารจัดการ ให้เกิดกำไร มาอุดในส่วนที่ขาดทุน แต่เนื่องจากการบริหารจัดการเข้าขั้นเลวร้ายของการรถไฟทำให้ที่ดินเหล่านั้นปล่อยทิ้งไว้ หรือปล่อยในราคาถูกๆ เพื่อพวกพ้อง ถ้าไม่บอกว่าเป็นความเลวของการบริหารจัดการแล้วจะเรียกอะไรวะ ยังไม่นับสหภาพที่เข้าไป ยุ่งกับการบริหารจัดการจนแทบทำอะไรไม่ได้อีก ทรัพย์สินมหาศาลแต่ทำอะไรไม่เป็นโง่มาก"

"ขาดทุนขนาดนี้อยู่มาได้เป็นห้าสิบหกสิบปี แถมทำให้คนที่ทำงานที่นั้นมีชีวิตที่ดีขึ้นนี่หรอ ขาดทุน...อ่ะถ้าว่าขาดทุนใครได้ประโยชน์นั้นประชาชนไง...เอาจริงห้าหกสิบปีขาดทุนมาไงไม่ปิดกิจการไปเลยโห เรื่องแค่นี้จะมาหาข้ออ้างขึ้นค่ารถไฟอีกอะดีดิ...ภาษีขึ้นทุกอย่างยกเว้นค่าแรงประชาชน น่าเหนื่อยใจ"

ต้นทาง https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2402907856588692&set=a.1432370326975788&type=3&theater
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2020, 04:24:48 PM โดย Taw »
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: nosta

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,424
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 04:55:00 PM »
ไม่เกี่ยวครับสาเหตุที่ขาดทุนคือเมื่อสร้างสถานีและรางถือเป็นค่าไช้จ่่ายของรถไฟ แต่รายได้มีแค่ค่าตั๋วการเช่าพื้นที่และบริการเป็นของทหารหรือที่ราชพัสดุ หรือพูดง่ายๆว่าค่าไช้จ่ายทังหมดคือรถไฟจ่ายแต่รายรับคือค่าตั๋ว ส่วนรายรับอื่นๆไม่ว่าจะโรงเเรมค่าเช่าในการสร้างรถไฟจ่ายแต่ทหารเก็บตังมันจะไปกำไรได้ยังไง รถไฟหรือการบริการเครืองบินมันไม่มีที่ไหนเลยที่ได้รายได้จากการขายตั๋วอย่างเดียวเหมือนรถไฟไทย ค่าเช่าพื้นที่ค้าขายบริเวรเครื่องบินรถไฟก็มีแต่รายได้ไปตกที่ทราฐและค่าขนส่งไปรณีและพัสดุรถไฟจ่าย คนไช้คือไปรณีทุกอย่างคิดวค่าไช้จ่ายที่รถไฟไทย แต่คนไช้งานกับรายได้กลับไม่ตกที่รถไฟเลยพระเจ้ามาบริหารก็ขาดทุน ซึ่งความเป็นจริงมันไม่เคยขาดทุนครับแต่เงินที่ได้มันไม่ถือว่ารถไฟทำได้แค่นั้นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2020, 06:12:45 PM โดย Rumia »
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: daijobu, Taw

ออฟไลน์ Sidestreetdog

  • แม่ทัพหมีชั้นกลาง
  • **
  • กระทู้: 2,193
  • ถูกใจแล้ว: 492 ครั้ง
  • ความนิยม: +26/-26
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 06:29:33 PM »
เออ... แล้วค่าเช่าที่ดินอย่างเซ็นทรัล และอื่นๆอีกมากมายเนี่ยเงินหายไปไหนหมดหว่าปีที่แล้วก็เห็นว่าเริ่มขึ้นค่าโดยสารแล้วนะ

เอาจริงๆ ผมว่าปัญหา รฟท. คือความคร่ำครึ โบราณ ไม่รู้จักพัฒนา
ไม่ใช่แค่การเก็บค่าโดยสารที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก
ระบบโครงสร้างที่คร่ำครึ บุคคลากร และเงินเดือน ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย และการใช้งานจริงการบริหารจัดการที่แย่ถึงที่สุด ไม่รู้จักปรับตัว และปล่อยให้ขาดทุนซ้ำซาก
จริงๆ ต่อให้ค่าโดยสารไม่เพิ่มอะไรมากมาย มันก็เพิมรายได้ได้นะไม่เหมือนพวกรถเมล์ที่มีรายได้แค่ค่าโดยสาร กับค่าโฆษณานิดหน่อย
รฟท. มีสถานีอยู่ การให้เช่าที่ และโฆษณาในเขตสถานีรถไฟ ซึ่งพวกรถไฟฟ้าก็ใช้ตรงนี้เป็นรายได้หลัก ไม่ใช่ค่าเดินรถ ซึ่งทำยังไงมันก็ขาดทุนตรงนี้

อย่างที่ คห.หนึ่งว่าแหละตัวรถไฟเฉยๆมันยังไงก็ขาดทุน แต่เป็นการขาดทุนที่จำเป็น เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้า
แต่ ร.5 ก็ทรงคิดถึงเรื่องนี้ไว้เรียบร้อย ถึงได้มอบที่ดินจำนวนมากให้ ไว้ทำกำไรแต่ก็ดันเอาไปใช้ไม่เป็นซะงั้น

เชื่อไหมถ้าเปลี่ยนระบบ จากนั่งกินนอนกิน เป็นแบบเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย
รฟท. จะเปลี่ยนจากหน่วยงานที่ขาดทุนซ้ำซาก กลายเป็นหน่วยงานที่ทำเงินได้ดีอันดับต้นๆของราชการเลย
ตอนนี้ที่มันไม่ค่อยพัฒนา เพราะมันไม่ต้องดิ้นรนไง ทำแบบเดิมๆ ก็ได้เงินเดือน เลยไม่คิดที่จะพัฒนาตามยุคสมัย
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: Taw

ออฟไลน์ Taw

  • หัวหน้าฝูงหมีใหญ่
  • *****
  • กระทู้: 1,352
  • ถูกใจแล้ว: 584 ครั้ง
  • ความนิยม: +47/-605
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 06:53:02 PM »
ไม่เกี่ยวครับสาเหตุที่ขาดทุนคือเมื่อสร้างสถานีและรางถือเป็นค่าไช้จ่่ายของรถไฟ แต่รายได้มีแค่ค่าตั๋วการเช่าพื้นที่และบริการเป็นของทหารหรือที่ราชพัสดุ หรือพูดง่ายๆว่าค่าไช้จ่ายทังหมดคือรถไฟจ่ายแต่รายรับคือค่าตั๋ว ส่วนรายรับอื่นๆไม่ว่าจะโรงเเรมค่าเช่าในการสร้างรถไฟจ่ายแต่ทหารเก็บตังมันจะไปกำไรได้ยังไง รถไฟหรือการบริการเครืองบินมันไม่มีที่ไหนเลยที่ได้รายได้จากการขายตั๋วอย่างเดียวเหมือนรถไฟไทย ค่าเช่าพื้นที่ค้าขายบริเวรเครื่องบินรถไฟก็มีแต่รายได้ไปตกที่ทราฐและค่าขนส่งไปรณีและพัสดุรถไฟจ่าย คนไช้คือไปรณีทุกอย่างคิดวค่าไช้จ่ายที่รถไฟไทย แต่คนไช้งานกับรายได้กลับไม่ตกที่รถไฟเลยพระเจ้ามาบริหารก็ขาดทุน ซึ่งความเป็นจริงมันไม่เคยขาดทุนครับแต่เงินที่ได้มันไม่ถือว่ารถไฟทำได้แค่นั้นเอง 

โรงแรมรถไฟที่ล้มหายไปน่าจะเพราะการมีตู้นอนกับรถไฟที่วิ่งข้ามวันน่ะครับ ส่วนรายได้รอบข้างอย่างเช่าที่นี่อันนี้เห็นเค้าว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับต้นทุนเดินรถ ถ้าไม่โฆษณาสิ้นคิดแบบช่วงปี 47-48 ที่อุตริเอาโฆษณามาแปะหน้าต่างจนโดนฟ้อง โฆษณาติดแต่ตัวรถเว้นหน้าต่างก็ยังมีรายได้โฆษณามาอุ้มบ้าง

เออ... แล้วค่าเช่าที่ดินอย่างเซ็นทรัล และอื่นๆอีกมากมายเนี่ยเงินหายไปไหนหมดหว่าปีที่แล้วก็เห็นว่าเริ่มขึ้นค่าโดยสารแล้วนะ

เอาจริงๆ ผมว่าปัญหา รฟท. คือความคร่ำครึ โบราณ ไม่รู้จักพัฒนา
ไม่ใช่แค่การเก็บค่าโดยสารที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก
ระบบโครงสร้างที่คร่ำครึ บุคคลากร และเงินเดือน ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย และการใช้งานจริงการบริหารจัดการที่แย่ถึงที่สุด ไม่รู้จักปรับตัว และปล่อยให้ขาดทุนซ้ำซาก
จริงๆ ต่อให้ค่าโดยสารไม่เพิ่มอะไรมากมาย มันก็เพิมรายได้ได้นะไม่เหมือนพวกรถเมล์ที่มีรายได้แค่ค่าโดยสาร กับค่าโฆษณานิดหน่อย
รฟท. มีสถานีอยู่ การให้เช่าที่ และโฆษณาในเขตสถานีรถไฟ ซึ่งพวกรถไฟฟ้าก็ใช้ตรงนี้เป็นรายได้หลัก ไม่ใช่ค่าเดินรถ ซึ่งทำยังไงมันก็ขาดทุนตรงนี้

อย่างที่ คห.หนึ่งว่าแหละตัวรถไฟเฉยๆมันยังไงก็ขาดทุน แต่เป็นการขาดทุนที่จำเป็น เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้า
แต่ ร.5 ก็ทรงคิดถึงเรื่องนี้ไว้เรียบร้อย ถึงได้มอบที่ดินจำนวนมากให้ ไว้ทำกำไรแต่ก็ดันเอาไปใช้ไม่เป็นซะงั้น

เชื่อไหมถ้าเปลี่ยนระบบ จากนั่งกินนอนกิน เป็นแบบเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย
รฟท. จะเปลี่ยนจากหน่วยงานที่ขาดทุนซ้ำซาก กลายเป็นหน่วยงานที่ทำเงินได้ดีอันดับต้นๆของราชการเลย
ตอนนี้ที่มันไม่ค่อยพัฒนา เพราะมันไม่ต้องดิ้นรนไง ทำแบบเดิมๆ ก็ได้เงินเดือน เลยไม่คิดที่จะพัฒนาตามยุคสมัย


ใช่เลยครับ ข้อหลังตัวอย่างง่ายๆก็พนักงานสถานีนี่แหละ แต่ละสถานีมีตารางเดินรถก็บอกแต่ต้นทาง-ปลายทาง ไม่มีบอกสถานีที่ไปและราคาไปแต่ละสถานี(เมื่อก่อนเคยมีที่สถานีปากช่องหลังบ้านผม แต่พอรถไฟฟรีปี52 มาก็หายสาปสูญและป่านนี้ยังไม่กลับมาให้เราดูเลย) ซื้อตั๋วถ้าไม่กำกับบอกก็เอาแต่ชั้นสามพัดลมมาให้ ทั้งที่ชั้นดีกว่าก็ว่างเป็นทหารม้า ขนาดของในองค์กรตัวเองยังไม่ค่อยอยากภูมิใจนำเสนอกันเลย ยิ่งโฆษณาเอกชนนี่ยิ่งง่อย ไปติดแบบทับหน้าต่างจนโดนผู้โดยสารฟ้องไปปี48 แทนที่จะได้ค่าโฆษณามาช่วยต้องเสียเงินขูด คืนเงินให้เจ้าของโฆษณาอีก ถ้าเว้นหน้าต่างป่านนี้คงได้เจอตู้รถไฟแปะโฆษณาสวยๆแถมทาง รฟท ได้ตังค์ด้วย ยังดีกว่าทุกวันนี้นิดนึง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2020, 07:26:32 PM โดย Taw »
 

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,424
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 08:18:31 PM »
คือไทยมันมีหลายหน่วยงานครับแล้วรถไฟมันก็เป็นหน่วยงานหนึ่งเมือรถไฟสร้างอะไรขึ้นมาจะถือเป็นค่าไช้จ่ายของรถไฟ แต่รายได้ของรถไฟมีแค่ค่าตั๋วเท่านั้นค่าเช่าที่ตกเป็นของราชพัสดุ(ทหาร) และต้องแบกค่าไช้จ่ายอื่นๆของหน่วยงานต่างๆมาไช้รถไฟฟรี เช่นไปรณีหรือส่วนงานราชการต่างๆไช้รถไฟไม่มีค่าไช้จ่าย แต่โลกนี้มันไม่มีการดำเดินงานใดๆที่ไม่มีค่าไช้จ่ายครับภาระตกมาที่่รถไฟ อย่างทำโรงแรมรถไฟค่าสร้างคือรถไฟกำไรที่ราชพอเจ็งต้องรือถอนรถไฟก็จ่ายอีก กำไรนะครับไม่มีรถไฟทีืไหนในโลกขาดทุนแต่กำไรรถไฟไทยมันไม่ตกเป็นของรถไฟเท่านั้น ทุกอย่างนอกเหนือค่าตั๋วไม่ว่าจะค่าเช่าที่ค้าขายหรืออะไรก็แล้วแต่ในรถไฟรายได้เป็นของหน่วยงานอื่นๆหลักๆก็ที่ราชเอาไป(ทหาร) ที่รถไฟยอมเพราะรถไฟเป็นหน่วยงานรัฐไม่มีความจำเป็นต้องหากำไรมีเงินอุดหนุนจากรัฐมาทุกปีอยู่แล้ว เงินกำไรก็เข้าทหารไปส่วนขาดทุนก็เก็บภาษีดีจะตาย
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: Taw

ออฟไลน์ deaddy

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 7,891
  • ถูกใจแล้ว: 2929 ครั้ง
  • ความนิยม: +206/-1
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 08:12:30 AM »
นึกถึงหน่วยงานผม เป็นหน่วยงานจนๆ ได้งบปีละไม่กี่พันล้าน
แต่ครอบครองพื้นที่กว่า 35+ ล้านไร่ มีเหมืองมากมาย  โรงงานผลิตไฟฟ้า
มีตลาด ชุมชนต่างๆ ให้เก็บค่าเช่าที่


แต่จน ทั้งที่แค่บังคับเก็บค่าเช่าที่ ไร่ละ 100-1000 บาทต่อปี แค่นี้ก็ไม่ต้องไปของบให้ปวดหัวละ


ตอนนั้นไปดูตัวเลขโรงงานไฟฟ้า กำลังการผลิตในภาคอีสานราวๆ
20-30% อยู่ในพื้นที่
แต่ต้องมาคุยเรื่องจะทุบทิ้งดีไหม เพราะผิดกฏหมาย :(


แต่ก็ผ่านไปแล้วละ อนุญาติละ แต่หน่วยงานก็ไม่ได้ตังอยู่ดี
 
เหล่าหมีที่ถูกใจสิ่งนี้: Taw

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,424
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 05:10:55 PM »
นึกถึงหน่วยงานผม เป็นหน่วยงานจนๆ ได้งบปีละไม่กี่พันล้าน
แต่ครอบครองพื้นที่กว่า 35+ ล้านไร่ มีเหมืองมากมาย  โรงงานผลิตไฟฟ้า
มีตลาด ชุมชนต่างๆ ให้เก็บค่าเช่าที่


แต่จน ทั้งที่แค่บังคับเก็บค่าเช่าที่ ไร่ละ 100-1000 บาทต่อปี แค่นี้ก็ไม่ต้องไปของบให้ปวดหัวละ


ตอนนั้นไปดูตัวเลขโรงงานไฟฟ้า กำลังการผลิตในภาคอีสานราวๆ
20-30% อยู่ในพื้นที่
แต่ต้องมาคุยเรื่องจะทุบทิ้งดีไหม เพราะผิดกฏหมาย :(


แต่ก็ผ่านไปแล้วละ อนุญาติละ แต่หน่วยงานก็ไม่ได้ตังอยู่ดี
หน่วยงานอะไรครับส่วนค่าที่มันต้องขอที่ราชในการไช้นะครับเพราะส่วนใหณ่ที่ของหน่วยงานรัฐยืมมาจากที่ราช ถ้าเก็บตังตังจะไปตกที่ที่ราชเหมือนรถไฟ

ออฟไลน์ Rumia

  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 8,424
  • ถูกใจแล้ว: 4070 ครั้ง
  • ความนิยม: +347/-403
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 06:25:23 PM »
[quote/]

ไม่นะ  ยกตัวอย่างง่ายๆ  ที่ของรถไฟซึ่งเซ็นทรัลล้านพร้าวเช่าก็ได้  ซึ่งก็พึ่งต่อสัญญา  การรถไฟเป็น
ผู้ได้เงิน  พื้นที่ของทหารที่ให้เอกชนเช่าก็เช่นกัน  ยกตัวอย่างด้านกีฬาเช่นสนามมวยลุมพีนีซึ่ง
คนรู้จักเยอะและเป็นข่าวก็ได้  ข้อมูลตรงนี้เพราะเป็นข่าว  ก็คงเสิร์ชหาข้อมูลกันได้ไม่ยาก  ทหาร
ถ้าไม่นับเกี่ยวกับรายได้จากที่ดิน  นับเรื่องรายได้ทางช่องทางอื่น  เช่นสื่อโทรทัศน์ก็ได้  ช่องเจ็ดเนี่ย
เป็นตัวอย่างเลย  ช่อง5สมัยก่อนก็ด้วย  คลื่นวิทยุอีก   

นึกถึงสื่อสัญญาณ  นึกถึงเรื่องใกล้ตัว  ก็บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น เดิมก่อนควบรวมเมื่อต้นปีนี้  ก็
เป็นเสือนอนกิน  บริษัท ท่าอากาศยานไทย นี่ก็ใช่  ชักออกทะเลหล่ะ  วกมาที่รถไฟดีกว่า  คิดว่า
ทำไมรถไฟเชื่อมสามสนามบินเขาถึงต้องการพื้นที่โดยรอบมาบริหารหล่ะ  ก็เพราะนั่นคือขุมทรัพย์
ทุกคนดูพื้นที่ใต้ทางด่วนในกรุงเทพก็ได้  นั่นหน่ะขุมทรัพย์เอาไว้ทำกินได้เงินเยอะแยะแบบไม่ต้อง
นำเข้าหลวง  เห็นทรัพย์แผ่นดินเป็นทรัพย์องค์กร  เห็นทรัพย์องค์กรเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล

เอิ่มไอ้ที่ยกมาทังหมดรายได้มันเป็นของทหารล้วนๆเลยนะครับ ค่าเช่าที่ของการบินไทยก็ทหารครับแต่การบินไทยบริหารเองแล้วจ่ายค่าเช่า แต่รถไฟมันไม่ไช่ครับเงินมันตกเป็นของทหารเลยมีแค่บางที่เท่านั้นที่่การรถไฟได้ การบริหารราชการไทยมันเป็นระบบรัฐซ้อนรัฐครับหน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนกันยุบยับ อย่างป่าไม้ที่ดินที่ราชซ้อนกับมัวไปหมดแต่รายได้ส่วนมากทหารเก็บครับ เช่นเปิดปัมน้ำมันในที่ราชโดยพลังงานแต่รายได้ทหารเก็บ

ออฟไลน์ deaddy

  • ผู้สนับสนุนเซนนิคุงY3
  • จอมทัพหมีหนุ่ม
  • *
  • กระทู้: 7,891
  • ถูกใจแล้ว: 2929 ครั้ง
  • ความนิยม: +206/-1
Re: [อีกมุมหนึ่ง]เหตุผลที่รถไฟขาดทุน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 07:37:41 PM »
[quote/]
หน่วยงานอะไรครับส่วนค่าที่มันต้องขอที่ราชในการไช้นะครับเพราะส่วนใหณ่ที่ของหน่วยงานรัฐยืมมาจากที่ราช ถ้าเก็บตังตังจะไปตกที่ที่ราชเหมือนรถไฟ


เงินเข้าสำนักกองทุน มันก็หมุนเวียนในองค์กรอยู่แต่เป็นงบลงทุนเท่านั้น คือเงินเดือนกับค่าตอบแทนต่างๆมาจากอีกทาง
ส่วนขออนุญาติใช้ที่ดินเช่นเหมือง รู้สึกจะไปจ่าย อบต. ด้วย
ส่วนปล่อยเช่ารายย่อยโครตไม่คุ้ม 33 ปีจะคืนทุน
แต่นับที่ราคาที่ซื้อมานะ ไม่นับค่าพัฒนา
ที่เห็นคือกฏหมายปี 59 ก่อนนั้นไม่รู้จ่ายแค่ไหน

แต่บางคนไม่สิหลายคนไม่จ่ายมาเป็นสิบๆปีละ


คืองานหลายอย่างมันซ้ำซ้อน ทำเสร็จก็โอนๆ ฟ้องร้องกันเป็นเรื่องปรกติเลย


เรียกว่าเป็นหน่วยงานจนๆแต่มีไว้หาเสียงให้นักการเมืองมากกว่า


ถ้าถามว่าหน่วยงานอะไร ก็หน่วยงานที่มีม็อบมาแทบทุกปีนั่นแหล่ะ

แต่ปีนี้อาจไม่มาเพราะโดนห้ามชุมนุม ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2020, 07:55:47 PM โดย deaddy »
 

 

Tags:
แหล่งนิยายแปล แหล่งนิยาย นิยายแปล นิยายแต่ง มังงะ การ์ตูน อนิเมะ นายท่าน เว็บไซต์นายท่าน กระทู้สไลม์ สไลม์ยอดรัก