@Diamos 1.สำนักกฎหมายฝ่ายธรรมชาติ คือ นักกฎหมายที่ยึดถือเหตุผลความเป็นจริงที่เป็นธรรมชาติ ชัดที่สุดคือพวกเขาเชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีอิสรภาพ ทุกคนๆต่างมีความเท่าเทียมกัน การตรากฎหมายนั้นไม่ควร
ทำลายสิทธิ์ต่างๆที่มีมาตั้งแต่กำเนิดจนวันตาย ตัวอย่างคนที่มีแนวคิดนี้คือ โสกราติส, เฮราเครตุส,มองเตสกิเออ, ชิเซโร, จอห์น ลอร์ค, รุสโซ
คนไทยที่ชัดที่สุด คือ รองศาสตราจารย์ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
2.สำนักกฎหมายฝ่า่ยบ้านเมือง คือ นักกฎหมายที่มีแนวคิดว่ากฎหมายคือการใช้อำนาจโดยชอบธรรมของรัฐบังคับใช้กับบ้านเมือง เชื่อว่ากฎหมายรัฐสมบูรณ์จริงโดยไม่ต้องพิจารณาว่าขัดกับกฎหมายธรรมชาติ
หรือไม่ "กฎหมายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นด้วย ความจงใจของรัฐ" กฎหมายนั้นสำคัญกว่าคุณธรรมและจริยธรรม และมีอิทธิพลความคิดเกี่ยวกับรัฏฐาธิปัตย์เป็นบุคคลที่
สามารถใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำราบปราบผู้ที่แข็งข้อ หรือ ทำลายความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้โดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่าได้อำนาจมาจากทางใด
รัฏฐาธิปัตย์ เป็นคำศัพท์ที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Supremacy Power หรือก็คือผู้มีอำนาจสูงสุด
สมัยโบราณนั้นคนที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์คือ ราชา พระมหากษัตริย์ ฮ่องเต้ หรือ ลอร์ดต่างๆ
พวกเขาเชื่อว่ารัฏฐาธิปัตย์คืออำนาจสูงสุดซึ่งไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใดๆ และไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆที่จะมาจำกัดอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ได้
ด้วยเหตุนั้นนักกฎหมายที่มีความคิดแบบสำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองจะคิดว่า "กฎหมายคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม
จะต้องได้รับโทษทัณฑ์"
บุคคลที่มีแนวคิดจัดว่าอยู่ในสำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เช่น ออกัสต์ คองต์, จอห์น ออสติน, อิมมานูเอล ค้านท์
ส่วนคนไทยที่ชัดที่สุดก็คือ ศาสตรจารย์กิติคุณวิษณุ เครืองาม
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าแนวคิดต่างกันสุดขั้วของฝ่ายธรรมชาติกับบ้านเมืองจะขัดแย้งตลอดเวลา และฝ่ายธรรมชาติมักเป็นฝ่ายที่ต่อต้านการใช้อำนาจรัฐที่มากเกินไปของฝ่ายกฎหมายบ้านเมือง
ส่วนสำนักกฎหมายฝ่ายอื่นๆ เดี๋ยวค่อยว่ากันครับ