เวลาอลิสจังอ่านคอมเม้นในคลิปเกี่ยวกับทางรถไฟฟ้า อลิสจังมักจะเห็นคอมเม้นประมาณว่า
-ทำไมไม่เอาสายไฟฟ้าลงดิน
-เมื่อไหร่จะเอาสายไฟฟ้าลงดิน
ซึ่งปัญหาเหล่านี้อลิสจังมองเป็นปัจจัยแทบจะท้ายๆ เลยเพราะไม่มีผลต่อการพัฒนาระบบขนส่งและใช้งบประมาณสูงในการเปลี่ยนแปลง
และซ่อมแซมยากกว่าเดิม แถมถ้าเสียขึ้นมาจะให้ชาวบ้านช่วยเป็นหูเป็นตาให้ไม่ได้ แล้วก็ถ้าเกิดไฟไหม้ในอุโมงค์สายขึ้นมาละก็ ชิบหายทั้งแถบล่ะเจ้าค่ะ
สายที่ไม่ได้ใช้งานหรือเยอะเกินไปก็ไปรกอยู่ในอุโมงค์สายใต้ดินอยู่ดีล่ะเจ้าค่ะ
สายที่เห็นเป็นแพอากาศนั้นส่วนใหญ่จะไม่ใช่สายไฟฟ้า แต่จะเป็นสายสื่อสารต่างๆ รวมถึงสายเคเบิลทีวี พวกนี้มักจะอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบและ
อลิสจังคิดว่าปัญหานั้นเกิดมาจากระบบสายที่ใช้สายร่วมกันไม่ได้ของไทยล่ะเจ้าค่ะ
แล้วก็อลิสจังคิดว่าถ้าคนในพื้นที่ย้ายค่ายเน็ตบ้าน จะสร้างสายไฟร้างที่ไม่ได้ใช้งานเพิ่มขึ้น และจะไม่ได้เอาออก ถึงแม้ว่าในอนาคตจะกลับมาใช้เน็ตของเจ้าเดิม
แต่เมื่อสมัครใหม่ ก็เดินสายให้ใหม่ ส่วนสายเดิมยังคงเกาะอยู่บนเสา ของบ้านใครสำนักงานใครยังใช้อยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ล่ะเจ้าค่ะ
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ อลิสจังอาจจะแนะนำว่าบ้านหรือกิจการควรพร้อมใจกันยกเลิกเน็ตบ้านหันไปใช้ 5G แทนเจ้าค่ะยกเลิกเคเบิลทีวีหันไปใช้ทีวีแบบดาวเทียมหรือดู Netflix แทนล่ะเจ้าค่ะ แล้วก็ให้เก็บสายสื่อสารออกทั้งหมดล่ะเจ้าคะ่แล้วก็ที่อลิสจังคิดไว้อย่างนึง อลิสจังคิดว่าการเพิ่มแรงดันไฟบ้านจาก 110V เป็น 220V และมีความต่างระดับในการแปลงไฟฟ้าสูง
ของไทย 115Kv -> 22Kv -> 220V
ของบ้านเกิดอลิสจังมักจะเป็น 154Kv -> 66Kv -> 6.6Kv -> 100V
น่าเสียดายเจ้าค่ะ ที่แผนพัฒนาระบบไฟฟ้าของอลิสจังนั้น Support เฉพาะไฟ 100V เท่านั้น อลิสจังขอเวลาปรับตัวให้รองรับไฟ 220V ซักพักนะเจ้าคะ
และที่ไทยเปลี่ยนจาก 110V มาเป็น 220V นั่นก็เพราะว่าช่วงที่ไทยกำลังขยายไฟฟ้าลงสูภูมิภาคนั้นถ้าใช้ไฟ 110V นั้นจะต้องใช้หม้อแปลงในแต่ละพื้นที่เยอะกว่า และต้องมีการดูแลที่มากกว่า(ที่อลิสจังว่ามานี่ถูกใช่ไหมเจ้าคะ)
แต่การที่ใช้หม้อแปลงเยอะกว่านั้นจะทำให้มีสาย Output น้อยกว่ามันก็จะทำให้จำนวนสายบนเสาน้อยกว่า (ที่อลิสจังว่ามานี่ถูกใช่ไหมเจ้าคะ)
และประกอบกับไฟเสาเข้าชุมชนของญี่ปุ่นนั้นใช้แค่ 6.6Kv แต่ของไทยใช้ 22Kv นั่นทำให้ไทยต้องใช้ลูกถ้วยและหม้อแปลงที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งมันทำให้ดูเก้งก้างมากกว่า(ที่อลิสจังว่ามานี่ถูกใช่ไหมเจ้าคะ)
แล้วก็พอคานรับน้ำหนักหม้อแปลงมันเก่ารับน้ำหนักหม้อแปลงไม่ไหวมันก็พังลงมาใช่ไหมเจ้าคะ
สรุปว่าถ้าไทยใช้ 110V คิดว่าปัญหาสายไฟเกะกะสายตานี่จะน้อยลงหรือเปล่าเจ้าคะ?
มันคือความคิดที่คิดง่ายดีนะเจ้าคะ สำหรับการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟจาก 110V เป็น 220V
แต่มันอาจจะเหมาะกับประเทศที่ไม่ค่อยมีงบประมาณในการดูแลก็ได้นะเจ้าคะ เพราะไฟบ้าน 220V ไฟเข้าชุมชน 22/33Kv มันทำแล้วปล่อยๆ ไปไม่ต้องมาดูแลอะไรมากมายได้
แถมหม้อแปลงใช้จำนวนน้อย แต่รองรับการใช้งานในชุมชนเป็นวงกว้างได้อีกล่ะเจ้าค่ะ ส่วนญี่ปุ่นนั้นต้องต่อเสาไฟโครงเหล็กไปหา Substation ขนาดเล็กทีอยู่ในแทบทุกอำเภอ/เมืองเลยทีเดียวล่ะเจ้าค่ะ
แต่ปัญหาเรื่องสายไฟเกะกะสายตานั้นน้อยกว่า
ถ้ามีเวทมนต์ที่เนรมิตได้อลิสจังก็อยากจะเสกให้ไฟบ้านไทยอยู่ที่ 100V ไฟเสาอยู่ที่ 6.6Kv ล่ะเจ้าค่ะ พร้อมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าของมินนะซังด้วยล่ะเจ้าค่ะ
ถ้าเป็นแบบที่ว่ามาแล้วยังไม่ไหวจริงๆ ค่อยคิดเรื่องเอาสายลงดินล่ะเจ้าค่ะ
อลิสจัง
2019.11.2