ก่อนนี้ แม้แต่ญี่ปุ่นที่รถไฟพัฒนาไปมากก็เคยให้รัฐเป็นคนบริหาร ปรากฏว่าเจ๊ง!! แม้แต่ญี่ปุ่นถ้าให้
ราชการทำมันก็รอดยาก จนต้องเปิดให้เอกชนเข้ามาแล้วคอยทำหน้าที่แค่ดูแลก็พอ ของไทยเรา...
อ้อ นึกออกอย่างนึง ที่คล้ายๆคคห.ด้านบนเอ่ย ไทยเราประยุกต์ให้สกายวอล์กเป็นคล้ายๆร้าน
เผงลอยทางเท้า แต่ให้ขึ้นมาอยู่ด้านบน สายต่างๆที่กำลังสร้างก็ทำไปพร้อมกัน เพราะเข้าใจจริต
คนไทย ชอบความสะดวก มักซื้อสินค้าเมื่อเป็นทางผ่าน มากกว่าจะเข้าไปในโซนหรือห้างเพื่อซื้อ
ของเล็กๆน้อยๆ
ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ทำให้การบริหารแบบราชการนั้นทำได้ยากครับ เพราะ ต้องทำเรื่องวุ่นวาย และ ยังโดนตรวจสอบวุ่นวาย จะทำอะไรก็ช้าเหมือนหอยทาก โลกสมัยใหม่ธุรกิจมันไปเร็วมาก ช้าก็อด ขาดทุุนไป
ญี่ปุ่นจึงสำนึกได้เร็วกว่าชาวบ้านว่าควรจะยกการเดินรถของรถไฟให้เอกชนทำพ่วงด้วยสัมปทานการเอื้อประโยชน์ในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีกับที่ดินของนายทุนซึ่่งเป็นของนายทุน(ส่วนใหญ่ก็เป็นห้างสรรพสินค้า)
และยกระดับจากรัฐวิสาหกิจ เปลี่ยนมาเป็น กระทรวงการรถไฟแทน มีหน้าที่ออกนโยบายอย่างเดียว ไม่ต้องบริหารเองให้เหนื่อย ปล่อยให้เอกชนทำไปตามสัญญาของสัมปทาน
เอกชนเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากสถานีรถไฟได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นปล่อยให้ร้านค้าขนาดเล็กเช่า สร้างอุโมงค์เชื่อมต่อไปยังห้างสรรพสินค้าของตน มันก็เหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า นั่นแหละ
และสุดท้ายเมื่อเอกชนได้เงินจากส่วนอื่นแทนค่าตั๋ว ค่าตั๋วรถไฟญี่ปุ่นมันจึงถูกเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
ประเด็นประเทศไทยก็พยายามทำเช่นกัน ที่ดินตรงมักกะสัน แต่ปัญหาคือมันต้องแก้กฎหมายใหญ่ คือ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเดินรถไฟที่เก่าแก่โบราณมาตั้งแต่ร.5 ไม่เคยเปลี่ยน
และที่มันแก้ไม่ได้เนี่ยมันก็มีหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก เอาไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังอีกที