คือในเรื่องของความตื่นเต้นในการที่จะเกิดอันตรายต่อตัวพระเอกหรือนางเอก
ผมสังเกตได้อย่างหนึ่งคือ แม้กระทั่งหวงอี้ที่เขียนพระเอกเป็นหัวหน้าคนคุมกองกำลัง ก็ยังต้องให้พระเอกออกไปผจญภัยด้วยตัวคนเดียว
เพื่อให้เกิดความหวาดเสียวอันตรายต่างๆต่อตัวพระเอก
ทั้งที่มีกองกำลังของตนเองแท้ๆ
แต่พอฉากตัดมาตอนที่กำลังเท่ากันหรือมากกว่า คนเขียนก็จะบรรยายผ่านๆ
เรียกว่าการเขียนให้พระเอกกำลังเหนือกว่านั้นมันตื่นเต้นได้ยาก
ผมกำลังคิดถึงแนวเกิดใหม่เป็นตัวร้าย ที่มีเงินและมีกำลังคนน่ะครับ เลยคิดถึงในแง่นี้
ว่าการมีคนและองค์กรนั้น
ใช้งานลูกน้องไปทำก็พอ
คนเป็นหัวหน้า ไม่ควรทำตนอย่างพระเอกหวงอี้ ที่ไปทำสืบข้อมูลด้วยบตนเอง
แต่ควรจะบัญชาการอยู่ในฐานคอยดูภาพรวมมากกว่า
หรือกลับชาติมาเกิดเป็นตัวร้าย ก็เรียกว่ามีกำลังทรัพย์และกำลังคนมหาศาลอยู่แล้วที่จะทำงานให้เรา
ทำให้เขียนค่อนข้างยากมาก
เพราะที่ทำได้ก็แค่ให้ลุกน้องไปทำงาน และลูกน้องจะกลับมารายงานว่าสำเร็จหรือล้มเหลว
หากเป็นสไตลืตัวรี้ายเดิมก็จะโมโห ตบตีลูกน้องก็ว่ากันไป
...
แต่สิ่งที่ไม่เกิดกับตัวร้า่ยหรือหัวหน้าองค์กร คือพวกเขาอยู่ในสถานะปลอดภัย ทำให้คนอ่านลุ้นได้ยากว่าจะเกิดอันตรายต่อตัวร้ายหรือเปล่า
ทำให้นิยายหลายเรื่อง ต้องเล่นมุกว่า ตัวร้ายที่ว่า สถานะทางตระกูลไม่ดี ช่นดยุกอู๊ดๆ ไม่ถูกกับทางตระกูล หรือลูกสาวดยุก โดนลงโทษในฉากจบฯลฯ
เรียกว่าพยายามจะตัดทรัพยากรบุคคลและกำลังทรัพย์ของตัวร้ายนั้น เพื่อไม่ให้มีกำลังมากเกินไป
แม้จะมีคนแซวกันว่าลูกสาวดยุกใช้แรงงานทาส...เอ๊ยแรงงานเด็กกำพร้าก็ตาม

ก็เรียกว่าคนเป็นหัวหน้าที่ทำได้คือวางแผนและเชื่อใจลุกน้องมองหมายงานให้ไปทำ
และจะโมโหโกรธาหรือใก้กำลังใจลูกน้องที่ผิดพลาดก็อีกเรื่องหนึ่ง.
...
มีมุกตัวร้ายหนึ่งที่ผมเจอและผมชอบมาก
ประมาณ
ลูกน้อง:ข้าทำผิดพลาดรบแพ้โปรดลงโทษข้าด้วยเถอะ
ตัวร้าย: ไม่เป็นไร ไปพักผ่อแนก่อนเถอะและหายดีค่อยกลับมารบอีกครั้ง จักรวรรดิเข้มแข็งยิ่งใหญ่มาได้เพราะเจ้าและยังต้องพึ่งพิงเจ้าต่อไป
เรียกว่าตัวร้ายโชว์ความเป็นผู้นำในการให้กำลังใจลูกน้อง ไม่ยอมลงโทษแม่ทัพที่เก่งกาจของตนเองแม้ว่าจะรบแพ้ก็ตาม