ผมมองว่าการมีคู่มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่ง แต่ละฝ่ายก็จะมีบางสิ่งเสนอให้อีกฝ่าย(เช่นความสุขทางกาย ทางใจ ทรัพยสิน อำนาจ ฯลฯ)รวมถึง ผลกระทบที่ตามมา(เช่น ความแตกต่างของแต่ละคนข้อเสียต่าง รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆอย่างครอบครัวความเชื่อ ภาระหน้าที่ต่างๆ ฯลฯ) ผมคิดว่าคู่ที่อยู่อยู่รอดมักเกิดจากที่ทั้งฝ่ายชั่งน้ำหนัก แล้วสิ่งที่ได้รับมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งที่เสีย(แน่นอนว่าน้ำหนักแต่ละอย่างของแต่ละคนและต่างช่วงเวลามันไม่เท่ากัน)
เข้าเรื่องฮาเร็ม
การมีความสัมพันธ์แบบฮาเร็ม สำหรับผมการมีความสัมพันธ์แบบนี้ได้จริงแปลว่า เจ้าของฮาเร็มจะต้องมีจุดเด่นบางอย่าง(หรือหลายอย่าง)ที่มันมากพอสามารถเสนอให้ สมาชิกฮาเร็มแล้ว สมาชิกฮาเร็มรู้สึกว่าสิ่งที่ได้รับมันคุ้มค่ากับผลกระทบ(ทั้งผลกระทบทั่วไปที่กล่าวข้างต้น ยังรวมถึงปัญหาเรื่องไม่ใช่คนเดียวของเจ้าของฮาเร็ม ปัญหาที่อาจมีกับสมาชิกฮาเร็มคนอื่น ปัญหาเรื่องทายาท ปัญหากับมุมมองด้านลบของกฏหมาย/ความเชื่อ/แนวคิดสังคมปัจจุบันต่อความสัมพันธ์แบบนี้ ฯลฯที่มากกว่าความสัมพันธ์แบบปกติ1-1)
แน่นอนว่าสำหรับสมาชิกฮาเร็มมันมีทั้งรูปแบบแบบที่ชั่งน้ำหนักแล้วคุ้มเพราะรับได้กับผลที่ตามมาไม่คิดอะไรมาก กับสมาชิกฮาเร็มที่เลือกเพราะชั่งน้ำหนักแล้วมันไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้ครับ
ขอบคุณครับผม
ผมมองว่าความอยากมีภริยาหลายคนคือสัญชาตญาณที่อยากแพร่พันธุ์จำนวนมากที่สุด แต่ผมมองว่าหากมองโดยรวมไม่มองส่วนตัว การมีสามีภริยาเดียวจะมีโอกาสกระจายประชากรมากที่สุด
การมีชีวิตคู่ก็อย่างที่ท่านว่าครับ แล้วแต่จะตกลงกัน
ผมมองว่าในแนวฮาเร็มต่างโลก ที่ให้พระเอกมีทาสเพราะ พวกทาส ฐานะทางสังคมต่ำกว่า ไม่สามารถมีปากเสียงได้
เคยอ่านมโหสถชาดก ก็มีการกล่าวถึงภริยาที่เป็นทาสเอาไว้
จริงๆ ประเด็นหลักๆ มันแค่ว่า มีpow พอไหม เท่านั้นเองนี่นา
อย่างเมะฮาเร็มทุกเรื่อง มีพระเอกคนไหน ไม่มี pow มั่งล่ะ
แต่หากพูโถึงทายาท เรื่องที่ผมเคยเห็นๆมา รุ่นหลานก็ตีกันเพื่อแย่งอำนาจ+สมบัตินะ
ถ้าหากมนุษย์ยังมีความเห็นแก่ตัว กานเข่นฆ่ากันเพื่อแย่งทรัพยากรนั้นเลี่ยงไม่ได้ครับ
อย่าง เคสห้างทอง ผมได้ฟังมาว่า มารดาหวังดี ไม่อยากให้สมบัติแตกแยกเลยให้รวมกันไว้...ผลลัพธ์จากความหวังดีก็อย่างที่เห็น
พี่น้องเป็นพี่น้องก็จริง แต่พอมีครอบครัวแล้วจะกลายเป็นคนอื่น
ผมเห็นหลายครอบครัวที่พ่อแม่ยกสมขัติให้ลูกคนโตคนเดียวเพราะคิดว่าคนนั้นจะดูแลน้องๆก็เกิดปัญหากันมาหลายครั้งแล้ว
ผมมองว่าการบริหารครอบครัวต้องใจแข็ง ยิ่งตระกูลใหญ่ต้องคิดกันแบบ game of throne
มีมุกที่พูดกันว่าคนที่เคยเล่นเกม Crusader King จะเห็นใจไทวินใน Game of throne
ว่าไทวินใจอ่อนเกินไป น่านะฆ่าไทเรียนตั้งแต่ยังเป็นทารกและแต่งงานใหม่หาผู้หญิงที่คลอดลูกไก้เพื่อสืบทอดตระกูล
เพราะทายาทคนแคระอย่างไทเรียนนั้นไม่เหมาะจะเป็นลอร์
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะไทวินยังรักภริยาเก่าอยู่ทำให้ตระกูลเสียเปรียบ
....
นี่ล่ะครับ ปัญหาเกิดขึ้นในตระกูลก็เพราะพ่อแม่เข้าใจผิดว่าพี่น้องจะรักกัน
ถ้าวางแผน แบ่งลูกรัก ลูกชัง ใครได้มาก ใครได้น้อยชัดเจน ก็จะลดปริมาณปัญหาลงได้
แต่ไม่มีทางแก้ไขได้แน่นอนหาหมนุษย์ยังมีความโลภ
...ซึ่งเป็นที่มาของเรื่องแนวแฟนตาซีที่ต้องใช้เวทมนตร์คุมความคิดคนล่ะครับ
คนที่ทำเรื่องเหล่านี้ได้ ในนิยานผมเห็นแต่อุ้ยเสี่ยวป้อ ที่คุมภริยาอยู่เพราะหมอนี่มันไม่ค่อยคำนึงถึงศีลธรรม ได้โอกาสหลอกภริยาก็ทำ