“ทำไมโทษแต่ผู้ชาย ทีพวกกะเทยเล่นมุกลวนลามยังไม่มีใครว่าเลย”
“แล้วทีผู้ชายโดนอะ ไม่เห็นมีใครพูดอะไรเลย”
“กะเทยลวนลามผู้ชายไม่ผิดเหรอ?”เนื้อหาโดยย่อในหลายๆ ครั้งเมื่อพื้นที่สื่อนำเสนอเหตุการณ์การล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือคำพูด โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ถูกล่วงละเมิดมักเป็นเพศหญิง และผู้ที่ล่วงละเมิดมักเป็นเพศชาย ทำให้เกิดข้อถกเถียงเช่นเดียวกับข้อความที่กล่าวถึงด้านบนเสมอ รวมไปถึงการที่มุกตลกบนพื้นที่สื่อหลักในหลายๆ ครั้งเป็นการที่ดารากะเทยบางคน รวมทั้งดาราหญิง เล่นมุกที่คุกคามทางเพศกับดาราชายหรือแขกรับเชิญชาย ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่า ทำไมเรื่องแบบนี้กลายเป็นเรื่องตลก
ทำไมไม่มีคนมองว่าเป็นเรื่องจริงจังเหมือนกรณีที่เกิดขึ้นกับเพศหญิง?ผู้ชายก็เป็นเหยื่อของการถูกคุกคามทางเพศได้ การคุกคามทางเพศ คือการกระทำที่ผู้กระทำมีเจตนาที่ไม่ดีกับฝ่ายตรงข้าม เป็นการคุกคามเพื่อผลประโยชน์ทางเพศของตน โดยผู้ถูกกระทำไม่ได้ยินยอม จากการรายงานเรื่องผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในช่วงสงกรานต์พบว่า ผู้ชายก็ตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงเกินด้วยเช่นกันถึงแม้จะปราศจากการรายงานเป็นตัวเลขที่ชัดเจน และจากสถิติการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานจาก ICASA เองก็พบว่าผู้ชายถูกล่วงละเมิดในที่ทำงานถึง 43 %
การผลิตซ้ำบนสื่อหลักกับบทบาทที่กะเทยต้องตลกแบบคุกคามผู้ชาย บนสื่อกระแสหลักในหลายๆ ครั้งได้ผลิตภาพจำที่ต้องกำหนดให้กะเทยเป็นเพศที่ต้อง ‘ตลก’ และมุกตลกที่นิยมกันบนสื่อหลักนั้นก็จะวนซ้ำอยู่ในเรื่องของการคุกคาม การลวนลาม ยกตัวอย่างเช่น รายการวาไรตี้ช่องหนึ่ง ที่ดารานักแสดงที่เป็นกะเทยมักเล่นมุกทางเพศ และพูดจาแทะโลมแขกรับเชิญเพศชายอยู่บ่อยครั้ง เหมือนถูกวางให้เป็นบทบาทหลักในรายการ เมื่อการคุกคามทางเพศถูกลดทอนความรุนแรงให้ดูเหมือนเป็นแค่มุกตลก
ผู้ชายกับการถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ สังคมออนไลน์เป็นอีกสังคมหนึ่งที่พบปัญหาการคุกคามทางเพศอยู่บ่อยครั้ง อาทิ การนำรูปผู้อื่นมาพูดถึงอย่างแทะโลม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาการคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ที่ถูกพูดถึงหลักๆ
เปรียบเทียบสองกรณีจากเหยื่อสองเพศ จากตัวอย่างในสื่อออนไลน์ มักจะพบการใช้คำเฉพาะกลุ่มเพื่อทำให้รูปประโยคที่คุกคามนั้นถูกลดทอนความรุนแรงลง ในช่วงปีที่ผ่านมาบนสื่อออนไลน์มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับคำว่า “ห อ ม” “คื อ ลื อ” หรือ “เบิ้ม ๆ” ซึ่งเป็นคำที่ถูกพบบ่อยในการคอมเมนต์ที่มีนัยยะแทะโลมเพศหญิง ซึ่งในส่วนของการแทะโลมเพศชาย กลุ่มบางกลุ่มได้กำหนดคำขึ้นมาเฉพาะกลุ่มเพื่อใช้ในการคุกคามผู้ชายเช่นกัน เช่น mk (โม้*คว*) หรือ sh คือมีอารมณ์ทางเพศ หรือใช้ในเชิงเสียดสีคำว่า Sexual Harrasment (การคุกคามทางเพศ) โดยทั้งสองกรณีนี้ล้วนเป็นการคุกคามทางเพศซึ่งไม่ควรกระทำทั้งสิ้น แต่ทว่าการถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นดราม่า การแทะโลมเพศชายถูกพูดถึงน้อยกว่า
ทำไมการพูดถึงเคสผู้ชายถูกกระทำถึงน้อย? ด้วยโครงสร้างสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมแบบชายเป็นใหญ่ จะมีการกดทับเกิดขึ้น สภาพสังคมแบบนี้จะกดทับให้เพศชายแสดงออกถึงภาวะผู้นำ และมักจะมีการคาดหวังถึงความเป็นชายเสมอ เช่นการหยิบยกวลี “Boy don’t cry” หรือ “เป็นผู้ชายก็ไม่เสียหายหรอก” มาใช้ เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ชายถูกคุกคาม พวกเขาส่วนมากจะไม่อยากออกมาพูดอะไร สาเหตุหนึ่งคือกลัวว่าจะผิดไปจากบรรทัดฐานสังคม ดูไม่เป็น “ผู้ชาย” แบบที่สังคมได้กำหนดกรอบไว้ ทำให้เราไม่เห็นการนำเสนอมุมนี้ในกระแสหลักของสังคม
ในด้านของสื่อ สามารถเห็นได้ชัดว่า
เมื่อเป็นกรณีของผู้เสียหายที่เป็นเพศหญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ สื่อจะค่อนข้างให้ความสนใจในการรายงานปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจของสาธารณชน และมักจะถูกมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ ในทางกลับกัน
หากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ชาย สื่อมักจะไม่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
ความเต็ม https://www.facebook.com/showyourspectrum/photos/a.276495186375492/780128116012194/