คนหนึ่ง ปล่อยๆ อีกคนหนึ่งไม่ปล่อย
รู้สึกตัวเวลาจะโพสนี่แหละ บางอารมณ์ก็อยากฆ่าทุกคนที่สร้างปัญหาให้อลิสจังเลย
พวกที่กลับประเทศไทยช่วงก่อนมาตรการกักตัวปี 2563 ล่ะเจ้าค่ะ
พวกนี้ทำลายชีวิตของอลิสจังที่วางแผนจะไปงานหนังสือ กลายเป็นว่าไม่ได้เล่นแม้แต่สงกรานต์
รัฐบาลก็ไม่ปกป้องอะไรอลิสจังเลย มีแต่ปิดห้าง ไม่ปิดประเทศ
ยังไงก็หลุดมาอยู่ดีแหละครับ ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีใครติดโควิด แต่สำคัญให้ความร่วมมือแค่ไหน และรัฐสามารถจัดหาวัคซีนได้เร็วที่สุดแค่ไหนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ
โรคระบาดเนี่ยประมาณร้อยปีก็จะมาครั้งหนึ่งครับ ไม่ใช่เรื่องประหลาดที่จะต้องตื่นตกใจ
อย่างช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมเมืองลอนดอนก็เคยเกิดกาฬโรค อหิวามาก่อน อันนั้นร้ายแรงมากเพราะประชากรเกือบครึ่งเมืองต้องเสียชีวิต
เป็นเหตุให้ลอนดอนต้องวางผังเมืองใหม่ทั้งหมดโดยเฉพาะระบบระบายน้ำทิ้ง
ผมเข้าใจว่าหลายคนโกรธคนที่เห็นแก่ตัวไม่เห็นแก่ส่วนรวมจนซวยทั้งส่วนรวม
แต่ปัญหาที่หนักข้อกว่านั้นคือการที่คนเห็นแก่ตัวมันเกิดจากความเหลื่อมล้ำของสังคม ผมทำงานต่างประเทศมา
ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา มันทำให้รู้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำ
มันเกิดจากปัญหาทางโครงสร้างทางการเมืองเป็นจุดกำเนิดของทุกต้นตอทั้งหมด
ผมจะเล่าเรื่องบังคลาเทศให้ฟัง
เมื่อก่อนบังคลาเทศเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียและปากีสถาน
หลังจากปากีสถานสามารถแยกตัวออกจากอินเดียได้ ชาวปากีสถานตะวันออก(ชาวเบงกอล)ก็อยากแยกตัวออกจากปากีสถานเช่นกัน
Sheikh Mujibur Rahman ได้ก่อตั้งพรรคสันนิบาตอวามีเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์แก่ชาวเบงกอลและเรียกร้องสิทธิกับรัฐบาลกลางปากีสถาน
และในที่สุดก็มาถึงจุดแตกหัก ปากีสถานตะวันออกนำโดย Sheikh Mujibur Rahman ได้ประกาศปากีสถานตะวันออกแยกตัวออกมาเป็นเอกราช
กองทัพของรัฐบาลกลางปากีสถานและชาวเบงกอลจึงได้ต่อสู้กัน โดยอินเดียเลือกที่จะสนับสนุนชาวเบงกอลโดยส่งทหารเข้าไปช่วย
(อินเดียไม่ถูกกับปากีสถาน ศัตรูของศัตรูคือมิตร) จนในที่สุดชาวเบงกอลซึ่งอยู่ปากีสถานตะวันออกก็ชนะ
และสามารถประกาศเอกราชได้ในวันที่ 26 มี.ค.2514(ถือเป็นวันชาติบังคลาเทศ) วันที่ 26 ที่จะถึงนี้จะครบรอบวันชาติบังคลาเทศ 50 ปี (ผมก็คงจะเข้าร่วมงานด้วย 555)
และแน่นอนว่า Sheikh Mujibur Rahman จึงได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกและได้รับการยกย่องเป็นพ่อแห่งชาติ เพราะเป็นผู้นำการต่อสู้ปลดแอกชาวบังกลาเทศ
ประเทศบังคลาเทศนั้นมีข้อได้เปรียบสำคัญและสมัยก่อนเจริญมากกว่าอินเดียและปากีสถานเสียด้วยซ้ำ เพราะมีท่าเรือใหญ่ที่ขนส่งสินค้าสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
คือท่าเรือจิดากอง แถมทิศตะวันออกก็ติดกับพรมแดนของประเทศเมียนมาร์ทำให้มีเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในย่านนั้นจากการค้าขาย
แต่ทว่าหายนะก็ได้มาเยือนเมื่อประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2518 โดยกลุ่มทหารที่ทำการรัฐประหาร
และต่อมาผู้นำที่ร่วมกันต่อสู้ประกาศเอกราชด้วยกันกับประธานาธิบดีคนแรกก็ถูกลอบสังหารทั้งหมด และการเมืองก็ถูกปกครองโดยคณะรัฐประหารเป็นเวลากว่า 20 ปี
ประเทศบังคลาเทศที่เคยเจริญที่สุดในย่านนี้กับถูกแช่แข็งจริงๆ ประเทศหยุดนิ่งราวกับไม่มีการพัฒนาเลย ถ้ามาบังคลาเทศจะรู้สึกเหมือนประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้วเลย
เรียกว่าเป็นประเทศที่ผู้นำเปลี่ยนบ่อยมาก และมักจะถูกเปลี่ยนจากการถูกลอบสังหารครั้งแล้วครั้งเล่า จนมาถึงเหตุการณ์หนึ่งที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์บังคลาเทศ
การลุกฮือครั้งใหญ่ 1990 เป็นการลุกฮือที่มีจุดเริ่มต้นจากเหล่านักศึกษาบังคลาเทศโดยการนำของ Khaleda Zia ก็ได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้สำเร็จ
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ บังคลาเทศก็แบ่งเป็น 2 ขั้วอำนาจ
อำนาจแรกคือ Sheikh Hasina ลูกสาวของประธานาธิบดีคนแรก จากพรรค Awami League
อำนาจฝ่ายหลังคือ Khaleda Zia ผู้นำการลุกฮือประท้วงร่างรัฐธรรมนูญใหม่เมื่อ 1990 จากพรรค BNP
ที่ผมเล่าเรื่องบังคลาเทศให้ฟังก็เพราะอยากให้เห็นภาพของรากของปัญหาที่แท้จริงว่ามันเกิดจากอะไร อะไรคือโครงสร้างที่กดทับ
ต่อให้เรามีความฝันที่ดีมากมาย ความหวังดีต่างๆจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้ารากฐานโครงสร้างของปัญหามันยังไม่ถูกแก้
ประเทศไทยก็เช่นกันครับ ตราบเท่าที่รากฐานของปัญหายังคงอยู่และไม่ได้รับการแก้ไข ก็ยากที่จะพัฒนาประเทศได้เร็วเหมือนประเทศอื่น