คุยไร้สาระกันหน่อยครับ
หลายปีก่อน ตอนเรียน เจอท่านอ.บวรศักดิ์บอกว่า เมืองไทยเกิดการแห้งแล้งทางปรัชญา
ผมก็คิดเรื่องนี้มาตลอด
คิดว่าเพราะการแห้งแล้งนั่นล่ะ ที่ทำให้สังคมสงบสุข ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
หากปรัชญามีคนตั้งขึ้นมาใหม่หรือมีการวิจารณ์ละก็ ความเปลี่ยนแปลงต้องมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่ๆ
คนอาจจะบอกว่า อุดมการณ์นั้นกินไม่ได้ ก็อาจจะจริง
ใครก็เห็นผลประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ก็อาจจะจริงเช่นกัน
แต่ชีวิตคนเรา มันไม่สามารถตีค่าได้แค่ตัวเลขในบัญชีหรอก
คนเราแม้อต่มหาโจร นักฆ่าก็ยังมีกฎบางอย่างให้ตนเองยังรู้สึกว่าเป็นคนดีอยู่ได้
หรือทนายที่เคยเจอ หน้าเงินมหาศาล แต่ก็ยังมีเคสการกุศลที่เขาทำให้บางคนแทบจะเรียกว่าฟรี ออกค่าใช้จ่ายอะไรเองให้
ไม่ใช่เคสที่คนรู้จักที่จะได้กล่อง คำชื่นชมด้วยซ้ำ แต่ก็ยังทำให้
คือ คนเราที่บอกว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นจริงๆหรอก
แม้แต่ในหมู่มือปืนเอง เงินมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถสั่งยิงบางคนได้
ซึ่งก็กลับมาที่ปรัชญาหรือแนวคิดนั่นล่ะ
ว่าคนเราไม่ใช่เครื่องจักร ให้คนเห็นแก่เงิน ทำเพื่อเงิน สำหรับผมแล้วยังสบายใจเสียกว่า
ว่าเป็นคนที่เราเข้าใจได้ง่าย มีมูลเหตุจูงใจชัดเจน
แต่โลกความจริงไม่ใช่อย่างนั้น
คนเราถูกจูงใจด้วยอุดมการณ์ความเชื่อ แนวคิด ปรัชญา บางอย่างต่างหาก
"กฎของตนเอง" หรือ "แนวคิด" บางอย่างที่ตนเองเคารพเท่านั้น
การศึกษาปรัชญาและแนวคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
มันไม่ใช่เรื่องแห้งแล้งทางปรัชญาแต่อย่างใด แต่เพราะคนอาจจะไม่พูดถึงกันในเรื่องนี้เพราะอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวอุดมการณ์ลึกๆในใจนั่นเอง