ข้อ1.ไม่ผิดหรอก เนื่องเพราะไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้โพสต์เหตุนี้ทำให้ขาด
"ผู้เสียหาย" และต่อให้มี
ผู้เสียหาย ก็ไม่ผิดเพราะได้แก้ไขจากพ.ศ.2550มาเป็นฉบับใหม่ มาตรา14วงเล็บ1ให้ไม่ครอบคลุมคดี
หมิ่นประมาทแล้วจ้า อันนี้ในกรณีชัดแจ้งว่าได้เอ่ยชื่อ หรือเอ่ยเอกลักษณ์บุคคลจนทำให้สาธารณะชนเข้าใจได้ว่า
เป็นบุคคลที่กล่าวถึง เพราะงั้นไม่ผิด พรบ.คอมฯ แต่ก็ยังผิดฐานหมิ่นประมาทนะเออ
ข้อ2. เอาโพสต์คนอื่นมาโพสต์ต่อ ถ้าเจ้าของโพสต์จะเอาเรื่อง มันก็ทำได้ แต่ถ้าตั้งสถานะเป็นสาธารณะ ก็ต้อง
ไปต่อสู้อีกที ซึ่งปกติส่วนใหญ่ก็รอด เพราะอีกฝ่ายต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ แต่ถ้ากังวลก็ให้ใส่ลิงค์ต้นทางด้วยนะเออ
ก็เหมือนกรณีแชร์ช่าวของสำนักข่าวต่างๆ แชร์ข้อความต่างๆทางเฟสบุค เขามักจะบอกกันว่า อย่าไปก็อปปีมานะ
ให้กดปุ่มแชร์แทน อาจใส่หัวข้อสักหน่อย เนื้อหาสักนิด เท่านั้นพอ เก็ตยัง?? ตัวอย่างนี้น่าจะเห็นภาพ
^^
ข้อ2.นี้ รวมหลายกรณีและบางประเทศถือเป็นมารยาทมากๆ อาจมีฟ้องร้องเลยนะเออในบางประเทศ จงกดปุ่ม
แชร์จะดีกว่า ถ้าไม่มีก็โยนลิงค์ บางประเทศจะถือว่าเบียดบังผลประโยชน์หรือทำให้เจ้าของบทความเสียประโยชน์
เนื่องจากข้อความต่างๆ ถ้ามีคนเข้ามาอ่านเยอะๆ มันจะหมายถึงตัวเลขเงินค่าโฆษณา หรือเงินจากคนเข้ามาอ่าน
พอจะเข้าใจความหมายนี้นะ มันจึงฟ้องร้องได้ แต่ไม่ใช่ฟ้องร้องในเรื่องทำให้เสียหายเนื่องจากถูกแชร์โพสต์ที่ตั้ง
เป็นสาธารณะ แต่โดนฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จ้า ถ้าเจอทนายดีๆเขาจะแนะให้ฟ้องแบบนี้
ข้อ3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลยเหรอ ==" อันนั้นต้องให้หน่วยงานรัฐประเทศนั้นยื่นฟ้องในประเทศที่
ผู้โพสต์อาศัยอยู่ แล้วพิสูจน์ต่อศาลว่าตนเองเป็นผู้เสียหายจากโพสต์นี้อย่างไร ผิดมาตราไหน
EDIT: ในข้อ2. ข้อความที่โพสต์โซเชียล ผู้โพสต์จะได้รับคุ้มครองลิขสิทธิ์อัตโนมัติ ทุกข้อความมีลิขสิทธิ
นะเออ จงระวังเรื่องนี้ไว้ แต่มีข้อยกเว้นยิบย่อยอยู่บ้างบางประการ