เอาความหลังมาเล่าบ้าง
"ไม้ตาย" คำคำนี้เป้นสำนวนไท มีมานานนม
สมัยเด็กๆเคยเรียน กระบี่กระบอง เขาจะสอน ยืน ย่าง และ "แม่ไม้" จริงๆก็สอนแค่ ไม่กี่ท่าหรอก
แม่ไม้คืออะไร แม่ไม้ คือ ท่าหลัก เรียนถัดจาก ยืน กับ ย่าง(เดินขนะต่อสู้)
ถัดจากแม่ไม้ ก็คือ "ลูกไม้"
ลูกไม้ก็คือ การเอาแม่ไม่หลายท่า มาประกอบกันเป็นกลยุทธหรือกระบวนท่าเพื่อชิงชัย
อาทิ เช่น แย๊บๆหมัดตรง หรือยันแล้วเตะเจาะยาง เป็นต้น
ทีนี้ "ไม้ตาย" ก็คือ ลูกไม้ หรือ แม่ไม้ ก็แล้วแต่ แต่สำหรับคนๆนั้นมันเป็นไม้เด็ดที่ออกแล้วหวังผลได้ค่อนช้างชัวร์
เช่น หมัดฮุคซ้ายเข้าลำตัวของเขาทราย นับเป็นไม้ตาย เพราะหวังผลได้ค่อนข้างชัวร์
สรุป ไม้ตาย คือ อาวูธ(หรือยุทธวิธี)ที่หวังผลได้ค่อนข้างชัวร์
ไม้ตาย ในภาษาต่างประเทศ = Finisher Move = ท่าปิดฉาก
ส่วนแม่ไม้ กับ ลูกไม้ ไม่ใช่ท่าไม้ตายครับ ความหมายจริงๆ มันคือ ท่าแก้ครับ (ผมไป Research มาแล้วตอนเขียนนิยาย)
แม่ไม้ = ท่าแก้ไขหลัก ขณะที่ลูกไม้ = ท่าแก้ไขรอง มันอยู่ในสถานการณ์ที่เราเป็นฝ่ายรับและเขากำลังบุกมา แล้วแก้การโจมตีของคู่ต่อสู้
ขณะที่ท่าบุกของมวยไทย จะมีคำว่า "เชิง" นำหน้า เช่น เชิงหมัด เชิงศอก เชิงเข่า เชิงเตะ เชิงถีบ
ผมยกตัวอย่าง ลูกไม้ "หิรัญม้วนแผ่นดิน" กับ เชิงศอก "จักรนารายณ์"
ถ้าดูแบบผิวเผินมันคล้ายกันมาก เพราะมันคือการหมุนตัวศอกกลับเหมือนกัน
แต่ความต่างคือ "หิรัญม้วนแผ่นดิน" เป็นท่าตั้งรับและสวนกลับ
ขณะที่ "จักรนารายณ์" เป็นท่ารุกใส่คู่ต่อสู้
"หิรัญม้วนแผ่นดิน" คนใช้ต้องปัดหมัดคู่ต่อสู้ก่อนนะครับ ย้ำนะครับว่าต้องปัดหมัดก่อนมีจะหมุนตัวฟันศอก เพื่อให้คู่ต่อสู้ที่ชกเข้ามาถูกเราปัดแล้วถลำเข้ามาโดนเราที่หมุนฟันศอกใส่เขา
ขณะที่ "จักรนารายณ์" คนใช้จะต้องเป็นฝ่ายรุกและก้าวเท้าไปสอดระหว่างขาสองข้างของคู่ต่อสู้เพื่อเป็นการล็อคไม่ให้คู่ต่อสู้ Side Step หนีออกซ้ายขวา ก่อนจะหมุนตัวฟันศอกกลับหลัง