จู่ๆก็อยากเขียนถึงประวัติความเป็นมาของธีมผู้กล้า
(Adventurer Token) ใน Yugioh ขึ้นมาซะดื้อๆ
พอรู้ตัวอีกทีก็เขียนเสร็จแล้ว เลยมาขอใช้พื้นที่เว็บนี้ในการลงบทความ
เนื่องจาก
มีความเห็นส่วนตัวปนอยู่เยอะ จึงขอให้ใช้จักรยานในการรับชม
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
(ช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้วถึงเดือนเมษายนปีนี้) ได้มีการ์ดธีมหนึ่งที่สร้างปรากฏการณ์สั่นสะเทือนวงการ Yugioh และสร้างความทรงจำที่ไม่รู้ลืม
(เรอะ ?)ให้กับผู้เล่น
ซึ่งการ์ดธีมที่ว่านั้นก็คือ “ผู้กล้า”
(Adventurer Token) นั่นเอง
โดยความเป็นมาของการ์ดธีมผู้กล้านี้มันเริ่มมาจาก ……
Booster Pack
“Deck Build Pack : Grand Creators”วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2021
โดยใน Booster Pack กล่องนี้จะมีการ์ดธีมใหม่ทั้งหมด 3 ธีม คือ
(1) ธีม P.U.N.K. การ์ดที่ผสมผสานศิลปะแนวพังค์กับศิลปะสไตล์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน
(2) ธีม Exosister แม่ชีโมเอะปราบผี
(3) ธีม Adventurer Token ธีมที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้
『勇者トークン』
(ยูฉะโทเค่น) หรือแปลตรงตัวได้ว่า “โทเค่นผู้กล้า” นั้น
เป็นธีมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเกมเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2021 ผ่านทาง Deck Build Pack : Grand Creators
มีชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า Adventurer Token
โดยก่อนที่จะได้ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการนั้น แฟนๆได้ตั้งชื่อชั่วคราวไว้ให้ว่า Brave Token
ธีม Adventurer Token นี้มี concept คือ “อัญเชิญผู้กล้าจากต่างโลก”
ในรูปจะเห็นหญิงสาวกำลังทำพิธีอัญเชิญผู้กล้าจากต่างโลกอยู่
อนึ่ง หญิงสาวที่ว่านี้มีชื่อว่า 『聖殿の水遣い』
(เซย์เด็นโนะมิซึทสึไค)ซึ่งสามารถแปลตรงตัวได้ว่า “ผู้ใช้น้ำแห่งวิหารศักดิ์สิทธิ์”
ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการของเธอคือ “Water Enchantress of the Temple”
ส่วนชื่อเดิมก่อนได้ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “Aquamancer of the Sanctuary”
แล้วเนื่องจากชื่อยาวไป ฝรั่งเลยตั้งชื่อเล่นให้ว่า “Aqua”
ส่วนคนไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า “เจ๊อควอ” “เครื่องกรองน้ำ”
(ล้อ KonoSuba สินะ)ส่วนทางผู้เล่นชาวญี่ปุ่นนั้น
เนื่องจากหน้าตาของเธอดันไปละม้ายคล้ายคลึงกับ “ร็อกซี”
(จากเรื่อง Mushoku Tensei)การ์ดใบนี้เลยได้ชื่อเล่นว่า “ร็อกซี”
เอาล่ะ กลับมาเข้าเรื่องกันต่อ
หลังผู้กล้าถูก Water Enchantress of the Temple อัญเชิญมาสู่โลก Yugioh ในฐานะ Token แล้ว
ผู้กล้าก็ออกเดินทางผจญภัยไปด้วยกันกับเธอ
การ์ดหลักที่เป็นตัวชูโรงของธีมนี้คือ “โทเค่นผู้กล้า”
(Adventurer Token)จัดว่าเป็นการ์ดธีมแรกเลยมั้งที่มีตัวชูโรงเป็น Token
ส่วนการ์ดใบอื่นๆในธีมจะเป็นของที่มีไว้ support โทเค่นผู้กล้า เช่น
- “ดันเนล ดาบศักดิ์สิทธิ์แห่งแสง”
(Dunnell, the Noble Arms of Light) ซึ่งเป็นเวทสวมใส่
- สถานที่ต่างๆที่ผู้กล้าเดินทางไป เช่น “ป่าบุปผาหลงทาง”
(Forest of Lost Flowers) ซึ่งเป็น Field Card
- ส่วนมอนสเตอร์การ์ดใบอื่นๆจะเป็นมิตรหรือศัตรูที่ผู้กล้าได้พบระหว่างการเดินทาง
โดยสุดยอด highlight ของธีมนี้คือการที่ “มี Token เป็นตัวชูโรง”
การที่มีโทเค่นเป็นตัวชูโรงนั้นหมายความว่าจะเอาอะไรมาเป็นผู้กล้าก็ได้
(ขอแค่ขนาดเหมาะสม, สามารถบอกได้ว่าตั้งโจมตีหรือตั้งป้องกันอยู่, ไม่ผิดกฎ)ไม่ว่าจะเป็น…
- การ์ด Yugioh ใบอื่นที่ชอบ แต่อ่อนเกินกว่าจะนำมาใช้เล่นจริงได้
- การ์ดที่ชอบจากเกมการ์ดอื่นๆ
- รูปตัวละครที่ชอบ
- รูปบุคคลต่างๆในชีวิตจริง
(เฮ้ คงจะไม่มีใครเอารูปพรี่คาซึยะไปใช้เป็น Token หรอกนะ)- หรือแม้แต่รูปถ่ายตัวเอง
แถมทางผู้ออกแบบการ์ดยังจงใจให้ผู้กล้าไม่มีรูปวาดปรากฏไว้ชัดเจนในการ์ดใบไหนเลย จึงเป็นการเพิ่มพลังจินตนาการว่าสิ่งที่นำมาใช้เป็น Token นั้นได้ถูกอัญเชิญต่างโลกและออกผจญภัยท่องไปในยุทธจักรแห่ง Yugioh
(แต่ถ้าเอารูปตัวเองหรือตัวละครที่ชอบมาใช้เป็น Token แล้วโดนอสูรแมงป่องของริชิโด้กิน ก็คงจะขำไม่ออก)Story ของการ์ดเหมือนจะดูดี นำการ์ดที่ชอบไปโลดแล่นในโลก Yugioh เติมเต็มความฝัน
แต่พอเห็นเอฟเฟคแล้ว ทั้งไทย ทั้งฝรั่ง ทั้งญี่ปุ่น ต่างก็ส่ายหน้าไปตามๆกัน
เด็คผู้กล้านี่ดูแล้วอ่อนสุดๆ เล่นให้ตายยังไงก็ไม่เก่ง
หลายคนคิดเช่นนั้น
ด้วยเหตุนี้ ตอนกล่อง Grand Creators ออกมาใหม่ๆ ราคาของการ์ดธีมผู้กล้าก็เลยถูกสุดๆ
ตรงข้ามกับ Exorsister แม่ชีโมเอะปราบผีที่ราคาพุ่งทะยานสุดๆเพราะความน่ารัก
จนกระทั่ง…
Credit ภาพ : เพจเนออส
(THAI YGO GAG)(
https://www.facebook.com/thaiygomeme/posts/pfbid02eN3WtbYvWEL8711mGA4AMiZTyv32Y83XAB1oUE6H7ywULwvT45X5xB5YyJvQFV2al)
…จนกระทั่ง
…มีผู้เล่นค้นพบว่า Adventurer Token นั้น แม้จะจัดเด็คผู้กล้าแท้เล่นเพียวๆแล้วอ่อนก็จริง แต่ถ้าเอาไปเล่นผสมกับเด็คอื่นจะโกงสุดๆ
จนเกิดเป็นเด็ค Prank-Kids Brave ที่เก่งสุดๆขึ้นมา สร้างเสียงฮือฮา
(?)ให้กับวงการ
https://roadoftheking.com/ocg-2021-07-metagame-report-10/
หลังจากนั้นโทเค่นผู้กล้าก็กลายมาเป็น engine ที่ถูกนำไปผสมกับเด็คต่างๆ จนเกิดเป็นเด็ค Brave
(Adventurer) มากมาย เช่น
- Phantom Knight Brave
- Tenyi Brave
- Virtual World Brave
- Branded Despia Brave
- Eldlich Brave
- Shaddoll Brave
ฯลฯ
เรียกได้ว่าตอนนั้นเป็นช่วง Brave everywhere
ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็เห็นแต่ Brave
ซึ่งโคนามิเองก็ไม่ได้ปลื้มกับเหตุการณ์ Brave everywhere นี้สักเท่าไร
จึงได้ตัดสินใจลงดาบใส่ผู้กล้าใน Banlist January 2022
- “เจ๊อควอ”
(Water Enchantress of the Temple) และ “พิธีกรรมเครื่องกรองน้ำ”
(Rite of Aramesir) ซึ่งเป็น key card ของเด็คผู้กล้า โดนปรับให้ใส่ได้แค่ 2 ใบ
- นอกจากนี้ Prank-Kids และ Phantom Knight ยังโดนลูกหลงไปด้วย
- โดย Prank-Kids โดนลิมิต Prank-Kids Meow-Meow-Mu ให้ใส่ได้แค่ใบเดียว
- ส่วนทาง Phantom Knight ก็โดนลิมิต The Phantom Knights of Torn Scales ให้ใส่ได้ใบเดียวเช่นกัน
เหตุการณ์นี้ทำเอาคนเล่นเด็คผู้กล้าแท้, Pure Prank-Kids, Pure Phantom Knights โอดครวญไปตามๆกัน
ส่วนผลที่ได้นั้น…
https://roadoftheking.com/ocg-2022-01-metagame-report-1-2/เด็คผู้กล้าแท้โดนลิมิตให้ key card ใส่ได้แค่สองใบ ชีวิตเลยลำบากขึ้นจม
แต่ Brave engine
(Adventurer engine) ก็ยังคงถูกนำไปใช้ในเด็คอื่นต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แม้ key card จะเหลืออย่างละสองใบ แต่ผู้คนก็ยังไม่เลิก Brave !
ปรากฏการณ์ Brave everywhere ยังคงมีต่อไป !
โคนามิเลยตัดสินใจขั้นเด็ดขาดใน Banlist April 2022
ลงดาบลิมิต “เจ๊อควอ”
(Water Enchantress of the Temple) และ “พิธีกรรมเครื่องกรองน้ำ”
(Rite of Aramesir) ซึ่งเป็น key card ของเด็คผู้กล้า ให้ใส่ได้แค่อย่างละใบ !
พอเห็น Banlist แล้ว ทั้งชาวไทย ทั้งฝรั่ง ทั้งญี่ปุ่น ต่างก็คิดว่าผู้กล้าตายสนิทแน่นอน
ซึ่งผลจริงๆของ Banlist นี้ก็คือ…
https://roadoftheking.com/ocg-2022-04-metagame-report-1-2-3/
แม้ key card จะเหลือแค่อย่างละใบแล้ว ผู้คนก็ยังคง Brave กันต่อไป !
เพิ่มเติมคือเด็คผู้กล้าแท้ตายสนิท
(แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว Ban List นี้จัดว่าได้ผล ปรากฏการณ์ Brave everywhere ได้หยุดลง เพราะจาก “การ์ดที่เอาไปเล่นได้ในทุกเด็ค” ก็กลายเป็น “การ์ดที่เอาไปเล่นได้ในหลายเด็ค” แทน เด็คที่เอาผู้กล้าไปเล่นได้นั้นเหลือแค่ไม่กี่ธีม เช่น Tenyi, Virtual World, Branded Despia ฯลฯ)เท่าที่ผู้เขียนบทความรู้ นี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ Yugioh
เล่นแบบ pure ในเด็คธีมตัวเองไม่เก่ง แต่เพราะโดนเอาไปเล่นกับเด็คอื่นแล้วเก่งเกินไป เลยโดนลิมิตยับขนาดที่เด็คธีมตัวเองเล่น pure ไม่ได้อีกเลย
(key card เหลือแค่อย่างละใบ) แถมขนาดโดนลิมิตยับจนเด็คธีมตัวเองเล่นต่อไม่ได้แล้ว ก็ยังไปโลดแล่นในเด็คอื่นต่อได้ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นซะงั้น
…อา ช่าง
ลักลั่นย้อนแย้งยิ่งนัก
Credit ภาพ : @TrifGaming (
https://twitter.com/TrifGaming/status/1543998982929653761)
แม้จะโดนลิมิตยับ แต่ผู้กล้าก็ยังคงอยู่รอดต่อไป
ผู้กล้ารอดจากคมเขี้ยวของ KONAMI มาได้
ทว่า ช่วงเวลาที่สามารถดีใจได้นั้นก็อยู่ไม่นานนัก
หลังจากนั้นตำนานผู้กล้าก็ต้องมีอันปิดฉากลงกะทันหัน
ด้วยการมาเยือนของ Booster Pack “Power of the Elements” !
(วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2022)แก๊ง Spright ที่มากับ Booster Pack กล่องนี้นั้นทรงพลังจนเกินไป
ผู้ที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง Eldlich หรือผู้กล้านั้นต่างแพ้ราบคาบ
แม้แต่ Branded Despia ซึ่งเป็นธีมที่แข็งแกร่งที่สุด ณ ตอนนั้นก็มิอาจต่อกรได้
https://roadoftheking.com/ocg-2022-04-metagame-report-6/
แก๊ง Spright ครอง meta อย่างรวดเร็วด้วยสัดส่วนเกิน 50%
จนได้ฉายาว่า “tier 0”
ในการแข่งขันนั้น เรียกได้ว่าแก๊ง Spright ถล่มเด็คอื่นๆยับ
ด้วยเหตุนี้ ผู้กล้า
(รวมถึงเด็คอื่นๆ)จึงได้ลดจำนวนหรือล้มหายตายจากไป
ส่วน Exosister ที่มาพร้อมกันกับผู้กล้าและ P.U.N.K แต่ได้รับความนิยมน้อยสุดนั้น บัดนี้ก็ได้ผงาดขึ้นมาเพราะสามารถต่อกรกับแก๊ง Spright ได้
(ชนะทาง)ตำนานผู้กล้าจึงได้ปิดจากลงไปด้วยประการฉะนี้แล
(แต่ก็ยังมิวาย มีคนเอาผู้กล้าไปเล่นเป็น gimmick ในเด็ค Spright อยู่ดี …ถึงแม้เล่น Spright เพียวๆจะเก่งกว่าเล่นแบบผสมก็เถอะ)