เรื่องการบริหารจัดการถนน ถือเป็นเรื่องโลกแตกเหมือนกันในหลายประเทศ โดยเฉพาะการแบ่งความรับผิดชอบ
แต่หลักๆ จะแบ่งถนนเป็น 3 ประเภท
1.Highway Road ถนนใหญ่วิ่งข้ามระหว่างเมือง (ในหลักวิชาของวิศวกรโยธา จะมองว่าแต่ละเมืองก็เหมือน Node ดังนั้น Highway คือ ถนนที่มีจุดประสงค์ที่ต้องการเชื่อม Node กับ อีก Node เข้าด้วยกัน)
ดังนั้นส่วนใหญ่ Highway มักจะถูกรับผิดชอบโดยกรมทางหลวงที่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง(Central Government) ไม่ได้ขึ้นกับท้องถิ่น
2.Local Road ถนนภายในเมือง หรือ ถนนภายใน Node อันนี้ถ้าเป็นต่างประเทศจะรับผิดชอบโดยหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดหรือรัฐๆนั้น
3.Toll Way ถนนที่ถูกให้สัมปทาน อันนี้รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงให้สัมปทานเอกชน จัดการโดยเอกชน
ส่วนเรื่องผังเมือง ความเละในอดีตบางทีมันก็แก้ยาก(จริงๆ มีวิธีแก้เพียงแต่เอาไว้อธิบายทีหลัง) ดังนั้นเอาปัจจุบันกับอนาคตไม่ให้เละจะดีกว่า
1. ออกกฎหมายห้ามให้เอกชนหรือนายทุนพัฒนาที่ดินออกแบบหมู่บ้านจัดสรรแบบมีซอยตัน แต่ให้ออกแบบเป็นบล็อคหรือ Grid แทน (ถ้าใครนึกไม่ออก ลองนึกถึงซอยแถวกรุงเทพ-นนท์หรือลาดพร้าวดู บางซอยนี่คือเขาวงกตดีๆเลย)
2. พื้นที่ Access สู่ถนนใหญ่ จะต้องไม่ไกลเกินไป และเส้นทางออกสู่ถนนใหญ่จะต้องสะดวก ไม่งั้นกรณีฉุกเฉินรถพยาบาล รถตำรวจ หรือ รถดับเพลิงเข้าไปไม่ถึงทันเวลา
3. เอาจริงเอาจังกับเรื่องพื้นที่ผังเมืองที่กำหนด เช่น โรงงานห้ามสร้างในเขตที่อยู่อาศัย(รวมถึงโรงงานขยะด้วยนะ โรงงานขยะอ่อนนุชนี่คือตัวอย่างที่ไม่ดี สร้างในเขตชุมชนได้ไง)
4. บังคับให้ทำ EIA (ห้ามมีข้อแม้) ต้องไม่มีการออกพรก.ข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น (อย่าคิดว่าไม่สำคัญ สำคัญมากๆ มีผลต่อการพัฒนาถนนและการบำรุงสาธารณูปโภคในอนาคต)
5. ออกกฎหมายกำหนดอายุอาคาร ในวิชาโยธานั้น ทุกอาคารทุกตึกไม่ได้ออกแบบให้อยู่ได้ตลอดกาลนานเทอญจนโลกล่มสลายนะครับ มันมีอายุของมันอยู่ ยกตัวอย่าง สะพาน ถ้าเป็นสะพานเหล็กก็มีอายุ 20 ปี ถ้าเป็นสะพานคอนกรีตก็มีอายุ 30 ปี เขื่อนมีอายุ 80-100 ปี ที่ต้องกำหนดก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และเมื่อหมดอายุจะได้เปิดประมูลเพื่อ Renovate ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น เมือง Detroit
จากชาแนล พูด "ทำไมกรุงเทพต้องมีซอย?"