จากหัวข้อเป็นการเล่นคำน่ะครับ เรื่องประเด็นทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งผมเอามาผูกโยงกับคำคมวงการรถโดยสาร "ล้อหมุนคือรายได้ ล้อนิ่งคือรายจ่าย"
โอเคว่าคำคมนี้มีส่วนจริง เพราะการปล่อยให้รถอยู่นิ่งๆนอกจากจะไม่มีรายได้เข้ามาแล้วยังเป็นตัวเพิ่มรายจ่ายในกรณีที่เราจะไม่ขายรถคันนั้น แต่การวิ่งที่ไม่ฉลาดนั้นแม้มีรายได้ แต่เมื่อหักต้นทุนแล้วกลับสร้างรายจ่ายได้เช่นกัน
สมมุติว่ารถโดยสารคันนี้มีระยะทำการจากต้นทางประมาณ 500 กิโลเมตร ราคาค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 2 บาท และสูงสุดที่ 80 บาท จำนวนผู้โดยสารมีมากบ้าง-น้อยบ้าง ส่วนมากขึ้น-ลงระยะใกล้ๆตีตั๋วในเรทราคา 10-30 บาท(ในบรรดานี้มีกรณีขึ้นต้นสาย-ลงสุดสายหรือเกือบสุดสายลักไก่ตีตั๋วเรทราคาต้นๆ-กลางๆด้วย) ออกวิ่งช่วงสาย-ปลายทางถึงดึกๆซึ่งเป็นช่วงคนน้อย และในเส้นทางส่วนมากเป็นหมู่บ้านคนรวยที่คนส่วนมากมีรถส่วนตัวกันแล้ว
เมื่อหักต้นทุน ประกอบไปด้วยค่าน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในรถเที่ยวนั้น ค่าสึกหรอ ค่าทำความสะอาด ฯลฯ พบว่าจะขาดทุนหรือมีหนี้พอสมควร หากเที่ยวนั้นรถเสียต้องเข้าอู่ด้วยก็ยิ่งเพิ่มรายจ่ายขึ้นไปอีก ถ้าเป็นของรัฐวิสาหกิจอาจจะมีรัฐช่วยอุ้มจึงทำได้ แต่ถ้าเป็นของเอกชนที่ต้องพึ่งสายป่านตัวเองนั้นขอบอกเลยว่ายากที่จะอยู่ได้
เห็นได้ว่าการวิ่งรถโดยสาร ถ้าวิ่งด้วยแผนที่ดีกว่านี้ เช่น ค่าโดยสารที่เหมาะสม(อาจจะเริ่มที่ 8-10 ทาท สูงสุดสัก 200-400 บาท) หรือรับลงโฆษณาบนตัวรถ(ไม่ทับกระจกจนโดนฟ้องทีหลัง) หรือออกในช่วงเวลาที่เหมาะสมหน่อย กรณีที่ต้องออกในเวลาตามกรณีบนอาจจัดโปรวนเข้าชุมชนระหว่างทางบ้างเพื่อเอาใจผู้โดยสาร ก็อาจจะพอมีรายได้บ้าง
เช่นกัน การทำดี ถ้าทำกับคนที่ควรทำ คนที่เห็นค่าในความดีก็คือการทำดีที่ได้ผล ตรงข้ามกัน ถ้าไปทำกับพวกไม่เห็นค่า หรือคนที่ไม่ควรทำด้วยก็มีแต่จะยิ่งเสียแรงกาย-แรงใจ

สนับสนุนกระทู้โดย เครื่องดื่มยี่ห้อไฮดร้า เพียงแค่อ้าปากก็จากโลกนี้ไป