หมายเหตุ กระทู้นี้มีเพื่อนำเสนอแง่มุมอีกแง่ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อปั่นหัวให้เกิดการดราม่าขัดแย้งภายในเวป
ร.ฟ.ท.องค์กรใหญ่...
ทำไมขาดทุนยับเยิน? $- $-
ยิ่งนานวัน...ยิ่งพอกพูน...เพราะอะไร?เนื้อหาโดยสรุป(ตัดต่อมาให้สั้นลงแล้ว) : ผมเคยอ่านบัญชีรายรับรายจ่ายของ ร.ฟ.ท. ย้อนหลังไปหลาย 10 ปี เพื่อจะดูว่าจริงๆแล้ว ร.ฟ.ท.นั้นขาดทุนได้ยังไง...มันเริ่มมาจากอะไร? ในบัญชีรายรับที่ผมพอจะจำตัวเลขได้
น่าจะประมาณปี พศ.2517 ที่ ร.ฟ.ท.เริ่มขาดทุนซึ่งก่อนหน้านั้น2ปี คือ ปี2515 ร.ฟ.ท.มีนโยบายให้ทะยอยเลิกใช้หัวรถจักรไอน้ำ เพราะไม้ฟืนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเริ่มหายากมากขึ้น
ผมได้พยายามดูข้อมูลรายได้ ร.ฟ.ท. ก่อนปี พศ.2515 ก็ยังมีกำไรอยู่นะ แต่เหมือนจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆเหมือนกับชีพจรคนป่วยที่ใกล้จะตาย จนในปี พศ.2517 ก็มาถึงจุดที่เริ่มขาดทุน(ตัวเลขปีนี่ถ้าผิดขออภัยนะ...เพราะมันนานมากละ) หลังจากที่เริ่มขาดทุนในปีนั้น ก็เริ่มขาดทุนสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในปีถัดไป
แต่อย่างไรก็ตามถ้ามาเฉลี่ยรายได้และรายจ่าย รายได้จากค่าโดยสารหรือสินค้าในสมัยนั้น กับรายจ่ายค่าน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในสมัยนั้น ดูแล้วก็ยังสูสิกันไม่น่าตกใจเท่าใหร่
จนกระทั้งเมื่อปี 2528 รัฐบาลมีมติให้บอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารชั้น3 โดยคำนวนราคาค่าโดยสารเท่ากับ 2 บาท ในทุกๆระยะทาง 10 กม. เพื่อลดภาระการขาดทุนของ ร.ฟ.ท. ซึ่งไม่ทราบว่าในปี 2528 นั้น ราคาน้ำมันดีเซลลิตรละกี่บาท อาจจะไม่ถึง 4 หรือ 5 บาทด้วยซ้ำ
ร.ฟ.ท. เก็บค่าโดยสารราคา 2 บาทต่อ 10 กิโลเมตร มาตั้งแต่ปี2528 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลตอนนี้อยู่ที่ลิตรละ 25-30 บาท ทีนี้หายสงสัยกันรึยังว่าทำมั้ย ร.ฟ.ท.ถึงขาดทุน เอาหล่ะ...ผมเชื่อว่าบางคนยังคาใจอยู่เพราะเชื่อว่ารถไฟขนคนได้ทีละมากๆน่าจะได้กำไร มาดูตัวเลขต่อไปนี้กันครับ...
รถไฟดีเซลราง 1 ขบวน พ่วงต่อกัน 4 คัน
รถดีเซลราง 1 คัน มี 1 เครื่องยนต์ 74 ที่นั่ง
ถ้าพ่วง 4 คัน ก็เท่ากับ 4 เครื่องยนต์ รวม 296 ที่นั่ง
ถ้ารถไฟขบวนนี้วิ่งจาก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
จะสิ้นเปลื้องเชื้อเพลิง ประมาณ 200 ลิตร/1เครื่อง
รถ4คัน/4เครื่อง ก็เท่ากับ800ลิตร
น้ำมันดีเซลลิตรละ 27 บาท
รถไฟขบวนนี้ต้องจ่าย
ค่าน้ำมัน 21,600 บาทถ้ารถไฟขบวนนี้เป็นรถไฟชั้น3(ที่ไม่ใช่รถด่วน) จะอ้างอิงค่าโดยสาร 2 บาท/10กิโลเมตร หรือเฉลี่ยออกมาเท่ากับ กิโลเมตรละ 20 สตางค์ ระยะทางจาก กรุงเทพ-นครราชสีมา 264 กม. ก็จะได้ตัวเลข 52.8 บาท ปัดเศษแล้ว ค่าโดยสารจริงๆคือ 50 บาทต่อคน ถ้ารถไฟขบวนนี้ มีผู้โดยสารเต็มขึ้นต้นทาง-ลงปลายทาง คือคนเต็มตลอด 296คน ค่าโดยสารคนละ50บาท
รถไฟขบวนนี้มีรายได้ 14,800 บาทค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 21,600 บาท เก็บค่าโดยสารได้ 14,800 บาท(ขาดทุน6,800บาท)
นี้แค่ขบวนเดียวนะ คิดแบบผู้โดยสารขึ้นเต็มทุกที่นั่งแล้ว และตัวเลขนี้คิดแค่ค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียว ความจริงมีค่าใช้จ่ายแฝงอีกมากมาย เช่น...
-ค่าใช้จ่ายพนักงาน
-ค่ากระดาษพิมพ์ตั๋ว
-ค่าอุปกรณ์ที่สึกหรอ
-ค่าทำความสะอาด
-ความสึกหรอของทางรถไฟ
-ค่าน้ำ/ค่าไฟฟ้าตามสถานี
และอื่นๆอีกมากมายก่ายกอง....ถ้าเอาตัวเลขทั้งหมดมาคำนวน อาจจะทำให้บางท่านถึงกับช็อคได้เลยเชียว เพราะแค่นี่ก็มากกว่ารายได้ค่าตั๋วที่เก็บแล้วหล่ะ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกให้เห็นภาพนะครับ ความจริงบางขบวนไม่ได้เต็มทุกเที่ยวทุกวัน มีโล่งบ้างมียืนบ้างเฉลี่ยกันไป แต่ที่แน่ๆคือ...รถไฟชั้น3 ขาดทุนแน่นอน เรียกว่า "ยิ่งวิ่งไกล ยิ่งขาดทุน" แต่ทราบมั้ยครับว่า รถไฟชั้น3ของการรถไฟ มีให้บริการทั่วทุกภูมิภาค กว่า 100 ขบวน และที่สำคัญคือ ร.ฟ.ท.ที่บริหารจัดการภายใต้สภาวะเช่นนี้ ยังพยายามที่จะประคับประคองไม่ให้แย่ไปกว่านี้
สำหรับตัวอย่างความคิดเห็นก็แตกต่างกันไป เช่น..."การไม่ปรับขึ้นค่าโดยสาร นี่แหละ
สาเหตุ สำคัญที่สุด
ถามว่า...อัตรานี้ อ้างอิงสมัยไหน
วันนี้ คนทั่วไป ขึ้นเครื่องบิน ราคาโลว์คอสต์ สบายๆ แล้วทำไมคนทำงาน จะมาจ่ายค่ารถไฟ เพิ่มขึ้นแค่นี้ไม่ได้
รังสิต/ศาลายา20 บาท
ภาชี 30 บาท
ลพบุร/แก่งคอย/นครปฐม 40
สุพรรณบุรี 50
อัตราเดียวไปเลย"
"แต่ปัญหาที่ผู้บริหาร รฟท. กำลังจะแก้นั้นมันผิดทาง คือเค้าคิดแต่จะลดต้นทุน ซึ่งปัจจุบันมันลดจนไม่มีที่จะลดได้อีกแล้วเพราะถ้าลดมากกว่าไปกว่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการบริการจะต่ำลง แทนที่จะคิดหาวิธีเพิ่มรายได้ เช่น ขึ้นค่าโดยสารให้สอดคล้องกับราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน(ขอย้ำนะครับว่าขึ้นค่าโดยสาร)ไม่ใช่ไปขึ้นค่าธรรมเนียมในรถเชิงพานิชย์
ถ้ายังคิดแต่จะลดต้นทุนโดยไม่คิดเพิ่มรายได้ก็คงยากที่จะฟื้น"
"มีบ่อยครั้งที่ไม่ได้อยากนั่งชั้นสาม แต่ชั้นอื่นเต็ม เลยจำใจต้องนั่งชั้นสาม ซึ่งคนทุกวันนี้เค้ามีเงิน เค้าสามารถจ่ายได้เพราะฉะนั้นควรจะเพิ่มที่นั่งที่มีราคาด้วย ชั้นสามให้มีแต่ลดจำนวนตู้ลง"
"คนเขียนเขียนไม่หมด ร.5 ท่านทรงรู้อยู้แล้ว การให้บริการรถไฟชั้น3 เพื่อประชาชนต้องขาดทุนจำนวนมาก ท่านจึงพระราชทานที่ดิน จำนวนมากให้การรถไฟในการบริหารจัดการ ให้เกิดกำไร มาอุดในส่วนที่ขาดทุน แต่เนื่องจากการบริหารจัดการเข้าขั้นเลวร้ายของการรถไฟทำให้ที่ดินเหล่านั้นปล่อยทิ้งไว้ หรือปล่อยในราคาถูกๆ เพื่อพวกพ้อง ถ้าไม่บอกว่าเป็นความเลวของการบริหารจัดการแล้วจะเรียกอะไรวะ ยังไม่นับสหภาพที่เข้าไป ยุ่งกับการบริหารจัดการจนแทบทำอะไรไม่ได้อีก ทรัพย์สินมหาศาลแต่ทำอะไรไม่เป็นโง่มาก"
"ขาดทุนขนาดนี้อยู่มาได้เป็นห้าสิบหกสิบปี แถมทำให้คนที่ทำงานที่นั้นมีชีวิตที่ดีขึ้นนี่หรอ ขาดทุน...อ่ะถ้าว่าขาดทุนใครได้ประโยชน์นั้นประชาชนไง...เอาจริงห้าหกสิบปีขาดทุนมาไงไม่ปิดกิจการไปเลยโห เรื่องแค่นี้จะมาหาข้ออ้างขึ้นค่ารถไฟอีกอะดีดิ...ภาษีขึ้นทุกอย่างยกเว้นค่าแรงประชาชน น่าเหนื่อยใจ"
ต้นทาง https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2402907856588692&set=a.1432370326975788&type=3&theater